คำผวน - ควนผำ - การสลับคำ สลับยังไง ใช้ยังไง

คำผวน เป็นคำที่พูดกลับเสียงคำเดิม ด้วยการสัมผัสเสียง เช่น ลายตา ผวนเป็น ตาลาย ขอคัด ผวนเป็น ขัดคอ ลำคลอง ผวนเป็น ลองคลำ

คำผวน คืออะไร

คำผวน คือ การสลับคำ โดยใช้ สระ และ ตัวสะกดของพยางค์หน้ากับพยางค์สุดท้าย มาสลับกัน
ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ที่ไม่มีความหมาย แต่การออกเสียงจะคล้องจองกับรูปเดิม ทำให้สื่อความหมายกันได้
คำผวนนั้นนิยมใช้กับคำสองหรือสามพยางค์เป็นส่วนใหญ่ แต่มากกว่านั้นก็พอมีบ้าง แต่อาจจะเข้าใจยากหน่อย ทั้งนี้ที่ต้องเป็นจำนวนพยางค์น้อยเพราะสามารถสลับตำแหน่งได้ง่าย
ส่วนคำพยางค์เดียวนั้นไม่สามารถผวนได้
คำที่พยัญชนะพยางค์หน้าและพยางค์สุดท้ายเหมือนกันหรือเสียงเดียวกันนั้นไม่สามารถผวนได้
คำที่สระและตัวสะกดพยางค์หน้าและพยางค์สุดท้ายเหมือนกันหรือตัวสะกดมาตราเดียวกันนั้นไม่สามารถผวนได้
ส่วนคำหลายพยางค์ อาจต้องแยกเป็นส่วน ๆ ไม่สามารถสลับตำแหน่งอย่างคำน้อยพยางค์

วิธีการสร้างคำผวน เรียกว่า "ผวน" หรือ "การผวนคำ"

คำผวน = ควนผำ

ตัวอย่างคำผวน
อะหรี่ดอย = อร่อยดี
สวีดัด = สวัสดี
ไข้เจา = เข้าใจ
ขึงเถ้า = เข้าถึง
ก้างใหญ่ = ไก่ย่าง
จอเข็บ = เจ็บคอ
หนี้ท่า = หน้าที่
อ้าดนำ = อำนาจ
สมคัง = สังคม
อิฐกรัง = อังกฤษ
ซานผะ = สะพาน
ไสเฟา = เสาไฟ

Download PDF คำผวน ที่ใช้บ่อย

สำหรับใครที่อยากได้คำผวน ในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถกดที่ปุ่มดาวน์โหลดได้เลย

คำผวน ที่ใช้บ่อย
PDF – ตัวอย่าง คำผวน ที่ใช้บ่อย
ดาวน์โหลด

 หมวดหมู่ ภาษาไทย
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำผวน - ควนผำ - การสลับคำ สลับยังไง ใช้ยังไง"