"รสชาติ" กับ "รสชาด" คำไหนที่ถูกต้อง

วันนี้อีกหนึ่งคำที่ใช้ผิดกันอยู่บ่อย ๆ คำที่ว่านี้ก็คือ คำว่า "รสชาติ"
‘รสชาติ | รสชาด’ คำไหนนะที่ถูกต้อง?
คำที่ถูกต้องคือ รสชาติ ✅
คำที่ผิดคือ รสชาด ❌
รสชาติ ✅
คำว่า "รสชาติ" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า "รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย"
เป็นการผสมคำระหว่างคำว่า "รส" กับ "ชาติ" ที่ต่างให้ความหมายถึง รสที่ลิ้นรับรู้
บางครั้งจะเห็นใช้เป็น 2 คำ เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ, ไม่ออกรสออกชาติ เป็นต้น
รสชาด ❌
ไม่มีคำนี้บัญญัติไว้ เป็นคำที่ไม่ถูกต้องและไม่มีความหมาย
ความหมายของ รสชาติ กับ รสชาด
- รส ในความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ หมายถึง ลักษณะที่รู้สึกด้วยลิ้นว่ามีรสเปรี้ยวหรือหวาน
- ชาติ เป็นคำยืมจากคำภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า
- การเกิด
- รส เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ
- ในภาษาไทย ชาติ หมายถึง การเกิดเป็นคนมีชีวิตหนึ่ง นับเวลาตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงสิ้นชีวิต
- ชาด เป็นวัตถุสีแดง ทำมาจากเมืองจีน เป็นผงหรือเป็นก้อน นำมาผสมกับน้ำมันใช้เป็นตราประทับหรือใช้ทาลงในของใช้ที่ลงทองหรือปิดทองไว้เพื่อให้สีทองดูสดฉ่ำงดงาม
- ชาด ยังเป็นชื่อต้นไม้ที่รู้จักกันในชื่ออื่นอีก คือ คำแสด คำแฝด หรือคำเงาะ
รสชาติ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของอาหารที่รับรู้ได้ด้วยลิ้น เช่น รสขม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเค็ม และอูมามิ
เห็นความแตกต่างของคำแล้วใช่ไหมครับว่าถ้าเราสะกดผิดเพียงตัวเดียวก็อาจทำให้คำหรือประโยคนั้นมีความหมายเปลี่ยนไปเพราะฉะนั้นควรดูดี ๆ และสะกดให้ถูกต้องก่อนใช้กันด้วยนะครับ
อ้างอิง