ค้นเจอ 14 รายการ

ฮีฮำ

หมายถึงทำเสมอ

ไขคำ

หมายถึงบอกความต้องการ, แจ้งความประสงค์

บัก

หมายถึงคำเรียกชายที่เสมอกันหรือต่ำกว่า

คอบ

หมายถึงบอกกล่าว,แจ้งให้รู้,บนบอก

เกิ่ง

หมายถึงเท่ากัน, เท่าทียมกัน, เทียบเท่า, เสมอ

กฎ (ระเบียบ)

หมายถึงประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ ระเบียบที่คนหมู่หนึ่งคณะหนึ่งวางไว้ เพื่อให้คนหมู่หนึ่งในคณะทำเสมอกัน.

ดาง

หมายถึงตาข่ายที่สานด้วยปอ ป่าน เรียก ดาง เช่น ดางแห ดางหวิง ดางมอง หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนตาข่ายเรียก ดาง เช่น รวงผึ้งเรียก ดางเผิ้ง อย่างว่า ให้ค่อยทำเพียรสร้างเสมอแตนสร้างช่อ ให้ค่อยติดต่อไว้เสมอเผิ้งต่อดาง (อิน).

ไก่เขือก

หมายถึงไก่หัวหน้าฝูง ไก่ตัวที่บอกเวลาขัน เช่น จะขันกก ขันกลาง ขันฮวย ไก่ตัวนี้จะบอก เรียก ไก่เขือก อย่างว่า ไก่เขือกชั้นชมแขกขันเนือง พอดีสูรย์พุ่งมาเมิลแจ้งเมื่อนั้นบาบุญเจ้าศิลป์ชัยมานอก น้ำดอกไม้พรมล้างอาบองค์ (สังข์).

แก่แด่

หมายถึงชี้ตรง, อาการอื่น ๆ ที่มีลักษณะแข็งและตรง โดยมักใช้ขยาย เพื่อบ่งบอกว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีขนาดเล็ก เก่เด่ (ใช้สำหรับสิ่งที่มีอาการคล้ายกัน) ก็เรียก

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

แป้งแหง้ง

หมายถึงการนอนหวายหน้า เรียก นอนแป้งแหง้ง อย่างว่า เสียงครกมองตำเข้าเดิกมามันม่วน ตำช้าช้าเสียงบอกยามซุก เดิกจั่งซุกเดิกจั่งซุก ตำเสียงสั้นสักกะลันน้ำน่ำ หกตำลึงหกตำลึงแตะแต้งแหล้งหงายลงแป้งแหง้ง (เจียง).

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ