ค้นเจอ 400 รายการ

สภาค

หมายถึง[สะพาก] ว. ร่วมกัน, อยู่หมวดเดียวกัน; เหมือนกัน, เท่ากัน. (ป.).

เดียวกัน

หมายถึงว. รวมเป็นหนึ่ง ไม่แบ่งแยกกัน เช่น เป็นอันเดียวกัน, เหมือนกัน เช่น หัวอกเดียวกัน ใจเดียวกัน.

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] ว. เท่ากัน, พอ ๆ กัน, เหมือนกัน, เช่น กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ; เพียง, แค่, เช่น ราคาของ ๔๐,๐๐๐ บาท เห็นจะซื้อไม่ไหว เสมอสัก ๓๐,๐๐๐ บาท ก็พอจะสู้ได้.

ฌาน

หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).

ตรงกัน

หมายถึงว. เหมือนกัน เช่น ความคิดตรงกัน, เป็นแนวเดียวกัน เช่น เข้าแถวให้ตรงกัน.

เสมือน

หมายถึง[สะเหฺมือน] ว. เหมือนกับ, เหมือนกัน, คล้ายคลึงกัน, เช่น รักกันเสมือนญาติ.

เหมือนกัน

หมายถึงว. อย่างเดียวกัน, ไม่แปลกกัน, เช่น พี่น้องคู่นี้มีนิสัยเหมือนกัน.

สาทิส,สาทิส-

หมายถึง[สาทิด, สาทิดสะ-] ว. เหมือนกัน, คล้ายกัน, เช่นกัน. (ป. สาทิสฺส; ส. สาทฺฤศฺย).

เหมือน

หมายถึง[เหฺมือน] ว. ดั่ง, เช่น, ดั่งเช่น, อย่าง, เช่น เขาทำได้เหมือนใจฉันเลย.

เฉก

หมายถึงว. เช่น, เหมือน.

ประหนึ่ง

หมายถึงสัน. เช่น, ดัง, เหมือน.

เสมอเหมือน

หมายถึงว. เทียบเท่า, เทียบเหมือน, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ผู้หญิงคนนี้งามไม่มีใครเสมอเหมือน เด็กคนนั้นซนไม่มีใครเสมอเหมือน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ