คำไวพจน์ ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน

คำไวพจน์ ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน
คำไวพจน์ ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน

สวัสดีครับ เห็นหลายคนอยากจะได้คำที่มีความหมายเหมือนกันเพื่อจะไปแต่งกลอนให้สละสลวยหรือจะแปลงให้เสียงลงวรรค/สัมผัสได้ถูกต้อง เลยจะขอให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้คำ ในการแต่งคำประพันธ์ คำกลอน

 

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ คำไวพจน์ คือคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือคำที่พ้องความหมายนั่นเอง ซึ่งตรงนี้นี้เองที่ช่วยให้เราสามารถใช้ความที่มีความหมายเหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกันเพื่อไปแต่งกลอนได้ เรามาดูกันว่ามีคำไหนบ้าง

 

คำไวพจน์มีประโยชน์ต่อการแต่งกลอน อย่างไร?

ช่วยให้กลอนมีความไพเราะ ลงวรรค/สัมผัสได้ถูกต้อง แต่ยังคงความหมายตามประสงค์เดิม

 

คำไวพจน์ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน

ไปดูตัวอย่างคำไวพจน์ที่พบบ่อยในบทกลอนกันเลย

 

พระพุทธเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระบรมศาสดาจารย์ พระโลกุตมาจารย์ กระสรรเพชร พระสุคต พระโลกนาถ พระมหามุนินทร์ พระชินวร พระชินสีห์ พระนรสีห์ พระสัพพัญญู พระบรมครู พระธรรมสามัสร์ พระศากยมุณี พระจอมไตร พระทศญาณ พระทศพลญาณ พระพิชิตมาร พระสมณโคดม พระมหาสมณะ  

พระเจ้าแผ่นดิน

กษัตริย์ ขัตติยะ เจ้าชีวิต บพิตร ปิ่นเกล้า ผ่านเผ้า พระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูบาล ภูบดี ภูธร ภูธเรศร์ ไท ไท้ นรินทร์ นเรนทร์ นโรดม เจษฎา ฤาสาย วิภู ราช ราชัน ราชินทร์ ราเชนทร์ ทรงธรรม ชนินทร์ ธเรศ จักรพรรดิ์ ทรงภพ นเรศวร นเรศูร นเรนทรสูร มหิธร มหิบาล มเหศวร ธรณิศ ภูเบศ ภูมี ภูวนาถ ภูวเนตร ภูวไนย ภูวดล ภูมิบาล ธรณิศ ธรณิศร ธรณิศวร์ ธรณินทร์ มนุษยเทพ ภูมีศวร ภูมินทร์ ภูมิบดี อธิราช จักรี จักริน นาราธิป อธิป นฤบาล นฤนารถ นฤเบศร์ นฤบดี นฤบดินทร์ มหิดล นโรดม มหิศวร ราชา ราชาธิราช สมมติเทวราช อดิศร นริศ นราธิเบศร์ อดิศวร  

ใจ

กมล แด ทรวง ทรวงใน มโน มน มาน รติ ฤทัย ฤดี หฤทัย อก อุระ  

คำเปรียบเทียบ

กล คล้าย ครุวนา เฉก ฉัน เช่น ดั่ง ดุจ เทียบ เที้ยน เทียม ประดุจ ประเล่ห์ ประหนึ่ง พ่าง เพี้ยง เหมือน ราว ราวกับ เล่ห์ เสมือน อุปมา อย่าง ปาน เปรียบด้วย

นักปราชญ์

กวี โกวิท โกศล ธีร ธีมา เธียร บัณฑิต ปัญวา ปราชญ์ ปริญญา เปรียญ พยัตตะ มนู มุนี มุนินทร์ เมธี เมธาวี วิทุร สุธี  

ผู้หญิง

กนิษฐ์ กนิษฐา กระลาพิน กระลาศรี กัญญา กันยา กัลยาณี กานดา กามินี เกน กลอยใจ แก้วตา ขนิษฐา ดรุณี ดวงสมร ถี นง นงคราญ นงราม นงนุช นงนาฏ นงเยาว์ นงลักษณ์ นงโพธ นงพาล นงพะงา นรี นารี นฤมล นาเรศ นิรมล นุช เนียง แน่ง แน่งน้อย บังอร โผอน พธู พนิดา พะงา พังงา ภคินี ภาคินี มาณวิกา มารศรี ยอดสร้อย ยาหยี ยุพยง ยุพเรศ ยุพดี ยุพา ยุพาน ยุพิน ยุพาพาล ยุพาพิน ยุวดี เยาวมาลย์ เยาวเรศ เยาว์ลักษณ์ เยาวพา รมณี ร้อยชั่ง วธู วนิดา วรดนู วรางคณา วิมล ศรี สดี สตี สตรี สมร สะคราญ สายสมร สายสวาท สุดา เสาวภาคย์ สุนทรี อนงค์ อร อรไท อ่อนไท อ่อนไท้ อรนุช อังคณา อัมพา อิตถี อิสัตรี  

ดอกไม้

กรรณิกา กุสุม โกสุม กุสุมาลย์ จราว จาว บุปผ บุปผา บุปผชาติ บุษบะ บุษบา บุษบง บุษบัน บุหงัน บุหงา ผกา พบู พเยีย พวงมาลา มาลย์ มาลัย มาลา มาลี สุมน สุมนา สุมาลี สุคันธชาติ สะบู ปสพ พันลอก กะบัง  

ท้องฟ้า

คคนัมพร คคนางค์ คคนานต์ ทิฆัมพร นภ นภดล นภมณฑล นภา นภาลัย โพยม โพยมาน เวหะ เวหา เวหาส เวหน เวหายส หาว อฆ อนิลบถ อัมพร ดาราบถ  

น้ำ

กระสินธ์ กาสาร กุนที เกียน คงคา จาว ชทึง ฉทึง ชรทึง ชร ชล ชลชาติ ชลธาร ชลธี ชลธิศ ชลาธาร ชลัมพุ ชลาลัย ชลาศัย ชเล ชโลทร โดย โตย ตระพัง ตะพัง กระพัง ทก ธาร ธารา นที มหรณพ มหรรณพ ยมนา รหัท ละหาน วหา วาปี วริ สาริน วารี วาหินี ศิรา สมุทร สริต สลิล สาคร สาคเรศ สินธุ โสทก อรรณพ อุมพุ อุทก อุทกธาร อุทกธารา โอฆชล เนียร  

พระจันทร์

แข โค จันทร์ จันทร จันทรพิมพ์ จันทรมณฑล เดือน ตโมนุท ตโมทร แถง โทษากร โทษรมณ์ นิศากร นิศานาถ นิศาบดี นิศามณี นิศารัตน์ บุหลัน ปักษาธร พิธุ มา มาส รชนีกร รัชนีกร วิธู ศศธร ศศพินทุ ศศลักษณ์ ศศิ ศศิน ศศี ศศิธร ศศิมณฑล สวรรคบดี สุมา โสม อินทุ อุทุราชา สุมะ รัตติกร กลา กลาพิมพ์ กลาแถง มนทกานติ พิธุ สิตางศุ์  

พระอาทิตย์

ตโมนุท ตะวัน ไถง ทินกร ทิพากร ทิวากร ประภากร พันแสง ภากร ภาณุ ภาณุมาศ ภาสกร รพิ รพี รวิ รวี รังสิมันต์ รังสิมา รำไพ วรุณ สหัสรังสี สุริยะ สุริยากร สุริยง สุริยา สุริเยนทร์ สุริเยศ สุริโย สุริยน สุริยัน สูร สูรยะ อักกะ อังศุธร อังศุมาลี อาภากร อุษณรัศมี อุษณรูจี อุษณกร  

เมือง

ธานิน ธานี ธานินทร์ นคร นครินทร์ นคเรศ บุระ ปุร บุรินทร์ บุรี บูรี ประเทศ พารา กรุงไกร สรุก  

โลก

โกกุ ฉมา ด้าว ธรณี ธรา ธราดล ธริษตรี ธาษตรี ธาตรี ปฐพี ปฐวี ปถพี ปัถพี ปัถวี ผงอน ผไท ไผทโกรม พสุธา พสุธาดล พสุนธรา พสุมดี พิภพ ภพ ภู ภูดล ภูมิ ภูริ ภูวะ ภูวดล ภูวนะ มหิ มหิดล เมทนี เมทินี นิมา โลกธาตุ โลกย โลกัย วสุธา วสุนธรา วสุมดี หล้า อจลา อุรพี โกษ  

นก

เขจร ทวิช บุหรง ปักษา ปักษี สกุณ สกุณี สุโนก ศาพก โศลาฏ วิหค วิหงค์ ทวิชาติ ทิช ทิชากร ปักษิณ พิหเคนทร์ ปักษวาหน ปักษคม พิหค  

ช้าง

คชินทร์ คเชนทร์ หัสดี ดำรี ดำไร ดมไร ทนดี หัสดี หัสดินทร์ กรี กรินทร์ กเรนทร์ กุญชร คช คชา คชาธาร โคบุตร พลาย พัง นาค นาคินทร์ นาเคนทร์ มาตงค์ นรการ สาร หัตถี หัสดินทร์ ไอยรา ไอยราพต คชสาร สาง นาคศวร ทันตี ทันติน พารณ พารณะ วารณ หัตถินี กรินี พังคา นาเคศ

ลิง

พลีมุข ชรโมล ทุโมน วานร พานร วานรินทร์ พานรินทร์ พานเรศ กระบี่ กบินทร์ กเบนทร์ กบิล มักฏะ วอก สวา ปลวังค (อ่านปะละวังคะ)  

สวรรค์

สรวง สันรวง สุคติ สุรบถ สุราลัย สุรโลก สัค สัคคะ ไกวัล ไกพัล ทิพ ไตรทิพ จาตุมหาราชิก ดางดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี วยัมหะ โสฬส กระยาหงัน ลางงิด ไทวะ สุขาวดี ศักรภพน์  

 

 

 

พระนารายณ์

พระวิษณุ ตรีโลเกศ จัตุรภุช จักรปราณี สังขกร หริ หริรักษ์ พระทรงครุธ พระทรงสุบรรณ พระทรงสังข์ รามราช วาสุเทพ พระกฤษณ์ วิณหุ  

พระอินทร์

มัฆวา มัฆวาน มฆวัน ตรีเนตร มหินท์ มเหนท์ วชิร วิชราวุธ วชิรปราณี วชิรหัตถ์ วัชรี วัชรินทร์ วัชรเรนทร์ วาสพ ศักร ศักรินทร์ ศักเรนทร์ สักกะ สุชัมบดี สุรบดี สหัสนัยน์ สหัสเนตร สุรินทร์ สุเรนทร์ โกสีย์ โกสินทร์ อมรบดี อมรราช อมรินทร์ อมเรศ เทพบดี เพชรายุธ พันตา พันเนตร วัชรพาหะ  

พระอิศวร

ศุลี ศูลี ศูลิน ศังกร ปรเมศวร์ สยมภู จอมไตร ศิวะ มหาเทพ เทพาธิบดี ตรีโลกนารถ ตรีโลจน์ มเหศ มเหศวร ภูตบดี ภูเตศวร ธราธร ธราธาร พระทรงโค หร (อ่าน หะระ)  

พระพรหม

ธาดา จัตรุพักตร์ ปรเมษฐ์ ประชานาถ กมลาสน์ กมเลศ กัมลาศ สหัมบดี สุรเชษฐ์ หงสรถ กำมลาศน์ ขุนแผน พระทรงหงส์  

เทวดา

เทพ เทว เทวัญ เทเวศร์ เทพบุตร เทพยดา เทพยุดา เทพาดิเทพ เทวินทร์ เทพินทร์ สุรารักษ์ อดิเทพ สุร อมร อมรา อำมร แมน สุธาสินี สุธาสี อสัญแดหวา แถน มรุ นิรชร (อ่านนิระชอน)  

นางฟ้า

เทวี เทพธิดา สุรางค์ สุรางคนางค์ สุรางคนา รัมภา อัปสร อัจฉรา นิรชรา  

ยักษ์

ยักษา ยักษี ยักษิณี ยักข์ ยักขินี รักขสะ รากษส รากโษส อสุร อสูร อสุรา อสุรินทร์ อสุรี อสุเรนทร์ อสุเรศ ราพณ์ ราพณาสูร รามสูร แทตย์ กุมภัณฑ์  

ทองคำ

โสม เหม จารุ อุไร กาญจน กาญจนา สุพรรณ สุวรรณ สุวรรณา สุวรรณี จามีกร หิรัณย์ หาดก หาตก มาศ ริน ชาตรูป ชมพูนุท ชามพูนุท กนก ไร สิงคี โสณ มหาธาตุ  

เงิน

หิรัญ ไหรณ ปรัก รชตะ สัชฌะ สัชฌุ งึน เงือน  

ดอกบัว

บุณฑริก ปทุม สัตตบุษย์ บุษบัน นิลุบล นิลปัทม์ จงกล ประวาลปัทม์ สัตตบงกช โกมุท โกกนุท ไกรพ บุษกร ปัทม ปัทมา อินทีวร อัมพุช บงกช อรพินท์ สัตตบรรณ อุบล จงกลนี กมล โกเมศ โกมล กรกช สโรช สาโรช นลิน นลินี กช กมุท กระมุช วาริช ชาตบุษย์ ตาราไต วารีช ลินจง โบกขร สฤก อุปบล นีรช (อ่าน นีระชะ)  

ป่า

อรัญ อารัญ อารัณย์ อรัณย์ อรัญญิก ชระงม วนวัน พนา พนาวัน พนาลี พนาลัย พนาวา พนาเวศน์ พนาราม พนาดร พนันดร พนัส พนัสบดี พนาสณฑ์ พนาสัณฑ์ ไพรสณฑ์ ไพรสัณฑ์ พงไพร พงพี ไพรศรี พนาศรี ไพรวัณ ไพรระหง พนอง เถื่อน กานน ครึมครุ ดงดาน ชัฏ อฏวี (อ่าน อะตะวี)  

ภูเขา

พนม พนอม ภู ภูผา คิริ คีรี กันทรากร บรรพต บรรพตา บรรพตชาล บรรพตมาลา มหิธร มเหยงค์ ศิขร ศิขริน ศิขรี ศิงขร ศิงขริน ไศล สิขรี สิขเรศ สิงขร สิงค์ เสล เสสา  

ปลา

มีน มัจฉะ มัจฉา มัจฉาชาติ มัตสยะ มัตสยา มัศยา วาริช วลัช นีรจร กะรัง    

ม้า

ตุรงค์ ตุรคะ มโนมัย สินธพ แสะ หัย อาชา อาชาไนย อัสสะ อัศวะ อัศวิน อัสดร พาชี ดุรค ดุรงค์ ดุรงคี  

เสือ

ขาล ตะโก ทวีปี พยัคฆ์ พยัคฆา พยัคฆี พยัคฆิน อชินี พาฬ ศารทูล ขลา  

วัว

วสภ พฤษภ พลิพัท ฤษภ วัตสดร อุสภ อุสุภ คาวี เคา ฉลู  

ควาย

มหิงส์ มหิษ ลุลาย กาสร กระบือ มหิงสา  

 

 

หากอยากหาว่า คำไหนอยู่ในกลุ่มคำไวพจน์อะไร ก็กดที่ ปุ่มนี้ เพื่อไปหน้าค้นหา ได้เลย

และยังมีคำไวพจน์อีกหลายหมวดหมู่ที่รวบรวมไว้ที่นี่ คำไวพจน์

หรือจะดูแบบแยกเป็นหมวดหมู่ที่รวบรวมไว้แล้ว กดดูได้ที่ คำไวพจน์ ทุกหมวดหมู่

 

 รู้หรือไม่?

  1. คำไวพจน์มีประโยชน์ต่อการแต่งกลอน อย่างไร?

    คำไวพจน์ช่วยให้กลอนมีความไพเราะ ลงวรรค/สัมผัสได้ถูกต้อง แต่ยังคงความหมายตามประสงค์เดิม


อ่านต่อเพิ่มเติม

คำไวพจน์ที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน"