ค้นเจอ 1,409 รายการ

จับงูข้างหาง

หมายถึง(สำ) ก. ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย.

งูกินหาง

หมายถึง(สำ) ว. เกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันไปเป็นทอด ๆ.

หมองู

หมายถึงน. ผู้มีความชำนาญในการจับงูเห่ามาเลี้ยงเพื่อนำไปแสดง.

งู

หมายถึงน. ปลางู. (ดู ปล้องอ้อย).

งู

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes ลำตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (Naja kaouthia) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (Python reticulatus).

ขนด

หมายถึง[ขะหฺนด] น. ตัวงูที่ขด; ลูกบวบจีวร; โคนหางงู มักเรียกว่า ขนดหาง.

งูกินหาง

หมายถึงน. การเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง สมมุติฝ่ายหนึ่งเป็นแม่งู มีลูกงูเกาะหลังเป็นแถว อีกฝ่ายเป็นพ่องู คอยไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายแถวเอามาเป็นพวกทีละตัว ๆ.

หาง

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

หมองูตายเพราะงู

หมายถึงน. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.

จับ

หมายถึงก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราสจับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทำขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว.

กระสา

หมายถึงน. ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา. (ไตรภูมิ).

งูกลืนหาง,งูกินหาง,งูกินหาง

หมายถึงน. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ