ค้นเจอ 486 รายการ

รส

หมายถึงน. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).

ชิวหินทรีย์

หมายถึงน. ลิ้นซึ่งเป็นใหญ่ในการลิ้มรส. (ป. ชิวฺหา + อินฺทฺริย).

หมายถึง[ทะ] ใช้เป็นคำนำหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.

หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท ธาตุบิสมัท.

เผ็ด

หมายถึงว. มีรสอย่างรสพริก.

ศฤงคารรส

หมายถึง[สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของวรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมีเนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.

เครื่องปรุงรส

หมายถึงน. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.

ขม

หมายถึงว. รสอย่างหนึ่งอย่างรสสะเดาหรือบอระเพ็ด.

ทิพยรส

หมายถึงน. รสทิพย์, รสเลิศ.

รู้รส

หมายถึงก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสียบ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.

เสาวรส

หมายถึงว. มีรสอร่อย, มีรสดี. (ป., ส. สุรส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ