ค้นเจอ 1,965 รายการ

ศัพท์เฉพาะวิชา

หมายถึงน. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.

ศัพท์บัญญัติ

หมายถึงน. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ.

ศัพท์แสง

หมายถึง(ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่นศัพท์แสง ฟังไม่รู้เรื่อง.

ศัพท,ศัพท-,ศัพท์

หมายถึง[สับทะ-, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยากที่ต้องแปล, ศัพท์แสง ก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คำ).

ติดศัพท์

หมายถึงก. พูดใช้ศัพท์ยากหลาย ๆ คำ, พูดใช้ศัพท์คำใดคำหนึ่งบ่อย ๆ; แปลศัพท์ไม่ออก.

ศัพท์สำเนียง

หมายถึงน. เสียง เช่น ข้างนอกเสียงเอ็ดอึง อยู่ข้างในฟังไม่ได้ศัพท์สำเนียง.

ธรรม

หมายถึงคำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

คำ

หมายถึงน. ทองคำ เช่น หอคำ เชียงคำ.

รับโทรศัพท์

หมายถึงก. รับการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์.

มานพ

หมายถึง[-นบ] น. คน. (ป.). (มาจากศัพท์ มนุ).

โยชนา

หมายถึง[โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ