ค้นเจอ 23 รายการ

ไต้

หมายถึง1.)ของใช้สำหรับจุดไฟให้สว่าง เรียก ไต้ กะบองไต้ ก็ว่า. 2.)จุด เช่น จุดเทียน เรียก ไต้เทียน จุดไต้เรียก จุดกะบอง อย่างว่า ฮุ่งค่ำเช้าตามไต้เฮื่อเฮือง (สังข์).

ตำอิด,ตำก่อ

หมายถึงแต่ก่อน , ตอนแรก , เริ่มต้น , แต่ไหนแต่ไร,นานมาแล้ว

ตำบักหุ่ง

หมายถึงส้มตำ

ตำหูก

หมายถึงทอผ้า

กะบอง

หมายถึงกะไต้ ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง เรียก กะบอง กะไต้ ไต้ ขี้ไต้ ก็ว่า

ขี้ยาง

หมายถึงน้ำมันยาง น้ำมันที่เกิดจากต้นยางหรือต้นไม้อื่น นิยมเรียก ขี้ยาง ขี้ยางนี้เอามาผสมกันขอนดอกทำเป็นกะไต้หรือกระบอง สำหรับจุดไฟให้เกิดแสงสว่าง.

ข้าวคั่ว

หมายถึงข้าวสาร (ส่วนมากจะใช้ข้าวเหนียว) ที่นำไปคั่วจนสุก แล้วนำมาตำจนละเอียด

แดกงา

หมายถึงขนมคลุกงา คือ คั่วงาแล้วตำข้าวเหนียวนึ่งผสมน้ำอ้อย เรียก เข้าแดกงา.

แป้งแหง้ง

หมายถึงการนอนหวายหน้า เรียก นอนแป้งแหง้ง อย่างว่า เสียงครกมองตำเข้าเดิกมามันม่วน ตำช้าช้าเสียงบอกยามซุก เดิกจั่งซุกเดิกจั่งซุก ตำเสียงสั้นสักกะลันน้ำน่ำ หกตำลึงหกตำลึงแตะแต้งแหล้งหงายลงแป้งแหง้ง (เจียง).

ข้าวต้มแดก

หมายถึงเป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น

ขี่กระบอง,ขี้ใต้

หมายถึงไม้ผุผสมกับน้ำมันยางธรรมชาติใช้จุดไฟแทนตะเกียงน้ำมัน

ไหปลาแดก

หมายถึงไหสำหรับใส่ปลาร้า เรียก ไหปลาแดก ที่เรียกชื่อปลาแดกเพราะเอาปลา เกลือและรำข้าวมาผสมเข้ากันแล้ว นำไปตำในครกมองให้แหลก เรียก ปลาแดก ปลาแหลก ก็ว่า บ้างก็ว่า เพราะการนำปลาที่ตำแล้วมายัดลงในไหที่ปากแคบ การยัดปลากดดันลงในไห เรียก ปลาแดก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ