ค้นเจอ 14 รายการ

ไข

หมายถึง-มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).

ไขคำ

หมายถึงบอกความต้องการ, แจ้งความประสงค์

เขย,ไข

หมายถึงการแกะ,การเปิด

ข่อนสิแจ้ง

หมายถึงเวลาใกล้รุ่ง,ใกล้สว่าง,ใกล้ฟ้าสาง

เพ็ญแขไขส่อง

หมายถึงพระจันทร์เต็มดวง

คอบ

หมายถึงบอกกล่าว,แจ้งให้รู้,บนบอก

ไขข้อ

หมายถึงน้ำมันที่อยู่ตามข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า สำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมา พับเข้าเหยียดออกได้ตามปกติ ไม่เกิดความขัดข้องเรียก น้ำมันไขข้อ.

กระจอนยอย

หมายถึงตุ้มหูที่ทำเป็นสร้อยระย้า เรียก กระจอนยอย อย่างว่า แหวนทรงนิ้วกระจอนยอยสบสอด (กา) กระจอนยอยส่องหน้าขาวแจ้งแจ่มจันทร์ (ฮุ่ง).

เมืองเมือง

หมายถึงรุ่งเรือง สว่าง สุกใส อย่างว่า เมืองเมืองจอนใส่หูเฮืองม้าว (กาไก) เมืองเมืองเหลื้อมพระกายกองแจ้งสว่างขายี่ผู้ธรรม์เหง้าอ่อนชาย (ฮุ่ง).

สื่อเมือง

หมายถึงคนกลางที่นำข่าวของมหาชนไปสู่รัฐ อย่างว่า ท้าวฮุ่งไขเงื่อนถ้อยถามหมู่ลุงอาว ผายความยินสื่อเมืองฝูงเหง้า บัดนี้เฮาก็ฟันแมนฮ้ายคลาเวียงสะสว่าง เพิงที่เมี้ยนเครื่องเข้าพลล้านลวดลาย ฮู้รือ (ฮุ่ง).

กฎวัด

หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง

ไก่เขือก

หมายถึงไก่หัวหน้าฝูง ไก่ตัวที่บอกเวลาขัน เช่น จะขันกก ขันกลาง ขันฮวย ไก่ตัวนี้จะบอก เรียก ไก่เขือก อย่างว่า ไก่เขือกชั้นชมแขกขันเนือง พอดีสูรย์พุ่งมาเมิลแจ้งเมื่อนั้นบาบุญเจ้าศิลป์ชัยมานอก น้ำดอกไม้พรมล้างอาบองค์ (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ