ค้นเจอ 13 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา แตงจิง

แดนดงกว้าง

หมายถึงเขตป่าดงที่มีความกว้างขวาง

แตงจิง

หมายถึงแตงไทย

ทั่วทีปทั่วแดน

หมายถึงทั่วพื้นที่ ครบทุกพื้นที่ ทั่วทวีป ทั่วทุกดินแดนก็ว่าได้

ข่า

หมายถึงคนใช้, คนรับใช้ คล้ายกับคำในภาษาไทยคำว่า ข้า, ขี้ข้า

ไตรรงค์

หมายถึงธงชาติไทยซึ่งมี 3 สี คือสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน เรียก ธงไตรรงค์.

ไทยทาน

หมายถึงของควรให้ ของควรถวายพระสงฆ์ได้แก่ปัจจัย 4 มีผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาแก้ไข เรียก ไทยทาน ไทยธรรม ก็ว่า.

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

ไคว

หมายถึงโยก คลอน สะเทือน อย่างว่า นับอ่านได้ล้านหนึ่งพลหาญ ฮองอาสาช่วงทางทัพหน้า หมู่หนึ่งฮู้แป่ม้างพะลานท้าวไควคอน เลาลมหลวงออกดังสองก้ำ เค็งเค็งท้อนธุลีแดนดับโลก ขันแป่ม้างตางเจ้าฝ่ายขวา (สังข์).

อาว

หมายถึงน้องชายของพ่อ เรียก อาว อย่างว่า ขอให้อาได้เห็นหน้าอาวยามน้อย (สังข์) เขาพี่น้องเนืองสู้ช่อยอาว (ฮุ่ง). อาว แปลว่า น้องชายของพ่อ ส่วนน้องสาวของพ่อ เรียกว่า อา เหมือนในภาษาไทยกลาง

ไกว

หมายถึงแกว่ง อย่างว่า ฟังยินลมล่วงต้องไกวกิ่งสาขา พุ้นเยอ สุรภาเบยบ่ายสีแสงส้วย ยุติบั้นสุมณฑาทังไพร่ ไปชมสวนดอกไม้ยอไว้ที่ควร ก่อนแล้ว (สังข์) ดอกหนึ่งสาวบ่าวค้านสงสัยต้นบ่สูงพอไคแค่หน้า ดวงหนึ่งเมื่อลมไหวฮสฮ่วง ลุกทั่วดินแดนฟ้าท่วยไท้ถือวี (ฮุ่ง).

แมงจินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

แมงกินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงจินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ