ค้นเจอ 54 รายการ

ขี้เหมี้ยง

หมายถึงสนิม สนิมที่จับเหล็กทุกชนิดเรียก ขี้เหมี้ยง มีดที่ขี้เหมี้ยงกินเรียกว่า มีดเข้าขี้เมี่ยง.

สาบคาว

หมายถึงเหม็นสาบ, เหม็นคาว

คือบ่อ

หมายถึงเหมือนไหม , ดีไหม

ตลาด

หมายถึงตลาด (เหมือนกับภาษากลาง)

เสี่ยว

หมายถึงเพื่อนรักเพื่อนแท้ที่เป็นเพื่อนกันโดยพิธีผูกเสี่ยว สหาย มิตร เพื่อน เกลอ คนที่มีรูปร่างหรือนิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียก เสี่ยว อย่างว่า โขโนเจ้าพรานสวงสองเสี่ยว (กาไก).

บักแงว

หมายถึงคอแลน เป็นผลไม้ป่า ภายนอกเหมือนลิ้นจี่แต่ลูกเล็กประมาณองุ่น เนื้อด้านในเหมือนเนื้อเงาะแต่รสชาติเหมือนลิ้นจี่ รสชาติเปรี้ยวนำหวาน เมล็ดเหมือนเงาะ

กรรมานุรูป

หมายถึงเหมาะสมแก่กรรม, ควรแก่การงาน (ส.).

กระจอนจูม

หมายถึงตุ้มหูที่ทำเป็นดอกตูมๆ เหมือนดอกงิ้ว เรียก กระจอนจูม อย่างว่า กระจอนจูมสุบเซิดคำกวมเกล้า (ขุนทึง).

ขี้มะเฮ็ง

หมายถึงมะเร็ง มะเร็งคือโรคขี้มะเฮ็ง ขี้มะเฮ็งอาจแยกได้เป็น 2 ชนิด ชนิดที่เป็นแอ่งเหมือนเป็นแอ่งน้ำขนาดตื้น มีน้ำหนองไหล และขนิดที่เป็นเนื้อเน่า.

ไจ้

หมายถึงชื่อปีที่หนึ่งในจำนวนสิบสองปี คือ ปีไจ้=ปีชวด ปีเป้า=ปีฉลู ปียี่=ปีขาล ปีเหม้า=ปีเถาะ ปีสี่=ปีมะโรง ปีไส้=ปีมะเส็ง ปีชะง้า=ปีมะเมีย ปีมด=ปีมะแม ปีสัน=ปีวอก ปีเฮ้า=ปีระกา ปีเส็ด=ปีจอ ปีไค้=ปีกุน. คัด เลือก คัดสิ่งเสียออกจากสิ่งดีเรียก ไจ้ ไซ้ ก็ว่า.

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

แหงด

หมายถึงกลิ่นเหม็นฉุน, กลิ่นฉุน, เหม็นสาบ

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ