ค้นเจอ 647 รายการ

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.

เวรกรรม

หมายถึง[เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.

เดือดร้อน

หมายถึงก. เป็นทุกข์กังวลไม่เป็นสุข.

ลูกเวรลูกกรรม

หมายถึงน. ลูกที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียอกเสียใจ หรือได้รับความเดือดร้อน.

เข้ากรรม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อยู่ไฟ.

คู่เวรคู่กรรม

หมายถึงน. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความเดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกันมาแต่ชาติก่อน.

รนหาที่

หมายถึง(ปาก) ก. นิ่งอยู่ไม่ได้ ชอบหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตน.

หาเหาใส่หัว

หมายถึง(สำ) ก. รนหาเรื่องเดือดร้อนรำคาญมาใส่ตน.

ครุกรรม

หมายถึง[คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.

หมดกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

เสวยกรรม

หมายถึง(วรรณ) ก. ตาย เช่น หนหลังเกรงแหล่งหล้า พระบาทคิดหนหน้า อยู่เกล้าเสวยกรรมฯ. (ลอ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ