ค้นเจอ 17 รายการ

พ้อง

หมายถึงว. ต้องกัน, ตรงกัน, ซํ้ากัน, เช่น พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ เห็นพ้องด้วย ชื่อพ้องกัน.

ลงเนื้อเห็นด้วย

หมายถึงก. เห็นพ้องด้วย.

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

นั่นซี,นั่นนะซี

หมายถึงคำแสดงการเห็นพ้องด้วย.

คำพ้องรูป

หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

เล่นพวกเล่นพ้อง

หมายถึงก. ถือพวกพ้องเป็นใหญ่หรือสำคัญ.

ต้องกัน

หมายถึงว. ตรงกัน, พ้องกัน, ถูกกัน.

สมานคติ

หมายถึง[สะมานะ-] น. การดำเนินอย่างเดียวกัน, การมีความเห็นพ้องกัน. (ส.).

จ๊ะ

หมายถึงก. เจอกันหรือพ้องกันโดยบังเอิญ เช่น เดินมาจ๊ะกัน แกงจ๊ะกัน.

มติมหาชน

หมายถึงน. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.

สอดคล้อง

หมายถึงว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้องกัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ