ค้นเจอ 598 รายการ

งดเว้น

หมายถึงก. เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา.

งด

หมายถึงก. หยุดหรือเว้น คือ ไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่ง.

ควร

หมายถึง[ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคำช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทำ ควรกิน.

แนะแนว

หมายถึงก. แนะนำแนวทางว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร.

วรรชย์

หมายถึง[วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย).

เว้น

หมายถึงก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทำหรือไม่พึงกระทำ) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคำใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคำอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.

ผิดที่,ผิดที่ผิดทาง

หมายถึงก. อยู่ในที่ที่ไม่เคยอยู่, อยู่ในที่ที่ไม่ควรจะอยู่.

ประมาทเลินเล่อ

หมายถึงก. กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังหรือละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ.

กระทำ

หมายถึงก. ทำ, จัดแจง, ปรุงขึ้น, สร้างขึ้น; (กฎ) ทำการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย และหมายรวมถึงละเว้นการที่กฎหมายบังคับให้กระทำ หรืองดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย.

ภาชนีย,ภาชนีย-

หมายถึง[พาชะนียะ-] (แบบ) น. ของควรแจก, ของควรแบ่ง. ว. ควรแจก, ควรแบ่ง. (ป.).

เบญจศีล

หมายถึงศีล ๕ ได้แก่ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ ๕. งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย คู่กับ เบญจธรรม

รู้เท่าไม่ถึงการ

หมายถึงก. รู้ไม่ถึงว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ