ค้นเจอ 1,471 รายการ

สาม,สาม-,สาม-

หมายถึง[สามะ-, สามมะ-] น. บทสรรเสริญ; การสรรเสริญ. (ส.).

สาม

หมายถึงน. จำนวนสองบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๓ ตกในราวเดือนกุมภาพันธ์.

ละ

หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.

ละ

หมายถึงว. คำใช้ประกอบหน้าคำ ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.

สามแพร่ง

หมายถึงน. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง เรียกว่า ทางสามแพร่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.

มือสาม

หมายถึงน. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนที่ ๓.

สามชาย

หมายถึงน. เรียกธงสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชายลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย ว่า ธงสามชาย.

สามสบ

หมายถึงน. บริเวณที่แม่น้ำ ๓ สายมาบรรจบกัน.

สามสี

หมายถึงดู ราชินี ๒.

สามหยิบ

หมายถึงน. เรียกหมวกลูกเสือที่มีรอยบุ๋ม ๓ รอยตรงด้านบนหมวกว่า หมวกสามหยิบ.

บุคคลที่สาม

หมายถึง(กฎ) ดู บุคคลภายนอก.

สามชั้น

หมายถึงน. เรียกเนื้อหมูส่วนท้องที่ชำแหละให้ติดทั้งหนัง มัน และเนื้อว่า หมูสามชั้น; จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับช้า คือช้ากว่าสองชั้นเท่าตัว หรือช้ากว่าชั้นเดียว ๔ เท่า เรียกเต็มว่า อัตราสามชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสามชั้น เพลงสามชั้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ