บทความน่ารู้

อักษร ๓ หมู่

เมื่อกล่าวถึงอักษร ๓ หมู่ จะเข้าใจตรงกันว่า ไตรยางศ์ แปลว่า ๓ ส่วน เป็นชื่อเรียกการจำแนกอักษร ๓ หมู่ ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ แต่ทั้งสามนี้มีลักษณะอย่างไร เราจะได้รู้ต่อไปในบทความนี้
เมื่อกล่าวถึงอักษร ๓ หมู่ จะเข้าใจตรงกันว่า ไตรยางศ์ แปลว่า ๓ ส่วน เป็นชื่อเรียกการจำแนกอักษร ๓ หมู่ ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ แต่ทั้งสามนี้มีลักษณะอย่างไร เราจะได้รู้ต่อไปในบทความนี้

เมื่อกล่าวถึงอักษร ๓ หมู่ จะเข้าใจตรงกันว่า ไตรยางศ์ แปลว่า ๓ ส่วน เป็นชื่อเรียกการจำแนกอักษร ๓ หมู่ ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ แต่ทั้งสามนี้มีลักษณะอย่างไร เราจะได้รู้ต่อไปในบทความนี้

 

๑. อักษรสูง

ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๖ : ๑,๓๘๙) ให้ความหมายของคำว่า อักษรสูง ไว้ว่า พยัญชนะที่

  • คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๓ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ' เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ้ เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า
  • คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๒ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ้ เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ

มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห (หลักในการจำคือ ผี ฝาก ถุง ข้าว สาร ให้ ฉัน ฐาน ศึก ษา)

 

๒. อักษรกลาง

ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๖ : ๑,๓๘๙) ให้ความหมายของอักษรกลาง ไว้ว่า พยัญชนะที่

  • คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
  • คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ้ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ๊ เป็นเสียงตรี  ผันด้วยวรรณยุกต์ ๋ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ

มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ (หลักในการจำคือ ไก่ จิก เฎ็ก ฏาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง)

 

๓. อักษรต่ำ

ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๖ : ๑,๓๘๙) ให้ความหมายคำว่า อักษรต่ำ ไว้ว่า พยัญชนะที่

  • คำเป็นมีพ้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ่ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ้ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า
  • คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ่ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ๋ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค่าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

สำหรับอักษรต่ำ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ พวกคือ อักษรต่ำคู่ มี ๑๔ ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ (หลักในการจำคือ พ่อ ค้า ฟัน ทอง ซื้อ ช้าง ฮ่อ) และอักษรต่ำเดี่ยว มี ๑๐ ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ (หลักในการจำคือ งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก)
โดยอักษรต่ำคู่จะมีเสียงคู่กับอักษรสูง ดังนี้ ข ฃ กับ ค ฅ ฆ, ฉ กับ ช ฌ, ฐ ถ กับ ฑ ฒ ท ธ, ผ กับ พ ภ, ฝ กับ ฟ, ศ ษ ส กับ ซ, ห กับ ฮ

 

เมื่อศึกษาอักษร ๓ หมู่ หรือ ไตรยางศ์ ซึ่งประกอบด้วย อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ แล้วทำให้จะทราบถึงการจำแนกพยัญชนะด้วยเสียงสูง กลาง และต่ำ ตามลำดับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการผันเสียงวรรณยุกต์และประสมอักษรต่อไป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ :เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔


อ่านต่อเพิ่มเติม

ความคิดเห็นในหัวข้อ "อักษร ๓ หมู่"