ค้นเจอ 22,055 รายการ

อุท,อุท-

หมายถึง[อุทะ-] น. นํ้า. (ป., ส.).

ปริบท

หมายถึง[ปะริ-] น. บริบท.

หมายถึง[ทะ] ใช้เป็นคำนำหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.

หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท ธาตุบิสมัท.

ทมะ

หมายถึง[ทะ-] (แบบ) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา, การปรับไหม. (ป., ส.).

กานท

หมายถึง(โบ) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ. (ยวนพ่าย).

สถาปัตยเวท

หมายถึง[สะถาปัดตะยะเวด] น. วิชาการก่อสร้าง เป็นสาขาหนึ่งของอุปเวท. (ส. สฺถาปตฺย + เวท). (ดู อุปเวท ประกอบ).

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

มนท,มนท-,มนท์

หมายถึง[มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย,ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ. (ป., ส.).

มัชฌิมชนบท

หมายถึงน. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.

มุทคะ

หมายถึง[มุดคะ] น. ถั่วเขียว. (ส. มุทฺค; ป. มุคฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ