ค้นเจอ 527 รายการ

ไปอย่างน้ำขุ่น ๆ

หมายถึง(สำ) ก. พูดแก้ตัวหลบเลี่ยงไปอย่างข้าง ๆ คู ๆ.

กวนน้ำให้ขุ่น

หมายถึง(สำ) ก. ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา.

ขุ่น

หมายถึงว. มีลักษณะมัว ไม่ใส ไม่ชัดเจน.

น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก

หมายถึง(สำ) แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม.

บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น

หมายถึง(สำ) ก. รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน, รู้จักถนอมนํ้าใจไม่ให้ขุ่นเคืองกัน, บัวไม่ให้ชํ้า นํ้าไม่ให้ขุ่น ก็ว่า.

เคืองขุ่น

หมายถึงก. โกรธกรุ่น ๆ อยู่ในใจ, ขุ่นเคือง ก็ว่า.

หมวน

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. ขุ่น.

ใส

หมายถึงว. แจ่มกระจ่าง เช่น ฟ้าใส, ไม่ขุ่น, ไม่มัว, เช่น น้ำใส กระจกใส.

ให้น้ำ

หมายถึงก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำ เช็ดหน้า หรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

ขุ่นเคือง

หมายถึงก. โกรธกรุ่น ๆ อยู่ในใจ, เคืองขุ่น ก็ว่า.

พระสุธารส

หมายถึงน้ำดื่ม, น้ำกิน

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ