ค้นเจอ 176 รายการ

อัฐยายซื้อขนมยาย

หมายถึงเอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอแต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้นโดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่นของผู้นั้น

คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา

หมายถึงผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้สูงอายุนับว่าเป็นผู้ผ่านโลกมาก่อน ย่อมมีประสบการณ์มาก จะทำสิ่งใดจึงควรขอคำแนะนำ

อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

หมายถึงให้มีความอดทน อดใจรอผลข้างหน้าที่จะดีกว่า คือละทิ้งสิ่งที่ไม่ดี เพราะอดใจรอเอาสิ่งที่ดีกว่า

ใช้แมวเฝ้าปลาย่าง

หมายถึงคนที่ทำผิดพลาดโดยการฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอาไว้กับผู้ที่ต้องการของสิ่งนั้นอยู่แล้ว ทำให้ต้องสูญเสียของสิ่งนั้นไปโดยไม่รู้ตัว

สัตว์

รีดเลือดกับปู

หมายถึงการบังคับขู่เข็ญเพื่อเอาผลประโยชน์กับผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะให้สิ่งที่ต้องการได้ เช่น การรีดไถเงินจากคนที่มีความยากจน

จุดไต้ตำตอ

หมายถึงพูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัวหรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้ตัว

ไก่แก่แม่ปลาช่อน

หมายถึงหญิงที่ค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมากและมีกิริยาจัดจ้าน โบราณท่านจึงเปรียบเทียบเอาไว้เหมือนไก่แก่หรือแม่ปลาช่อน ซึ่งผ่านโลกมามาก

สองหน้า

หมายถึงชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. ว. ที่ทำตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.

รีดนาทาเร้น

หมายถึงขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว; เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็กให้ทำงานหนัก

วัวพันหลัก

หมายถึงอาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.

พริกกะเกลือ

หมายถึงกับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตำจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล

สวมหัวโขน

หมายถึงเอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ