ค้นเจอ 72 รายการ

จับปูใส่กระด้ง

หมายถึงการเปรียบเทียบกับเด็กๆที่ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่งผู้ใหญ่ต้องคอยควบคุมดูแลตลอดเวลาเพื่อให้เด็กอยู่ในระเบียบ

กาหลงรัง

หมายถึงผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง

คว่ำบาตร

หมายถึงไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย,เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบไม่รับบิณฑบาตเป็นต้น

ชาติเสือจับเนื้อกินเอง

หมายถึงคนที่เชื่อมั่นและถือศักดิ์ศรีของตน แม้จะลำบากยากแค้นก็ไม่ยอมรบกวนและเบียดเบียนใคร หรือการทำมาหากินด้วยความอุตสาหะไม่เบียดเบียนผู้อื่น

ลงแขก

หมายถึงร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน; รุมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิง

ฤๅษีแปลงสาร

หมายถึงชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษรข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มีความหมายตรงกันข้าม

สู้ยิบตา

หมายถึงสู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย, เช่น เขาสู้ยิบตาแม้ว่าจะสะบักสะบอมเพียงใดก็ไม่ยอมแพ้. (กร่อนมาจากสำนวนเกี่ยวกับการตีไก่ซึ่งถูกตีจนต้องเย็บตาว่า สู้จนเย็บตา)

เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้

หมายถึงคนมีอำนาจ บารมี อิทธิพลพอ ๆ กัน ย่อมอยู่ร่วมกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น เขาทั้งสองเป็นคนเก่งและมีความสามารถเท่า ๆ กันมักเกิดปัญหาเพราะความไม่ยอมกันเหมือนเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้

ดินพอกหางหมู

หมายถึงนิสัยที่ชอบปล่อยให้การงานคั่งค้างสะสม ผัดวันประกันพรุ่ง เกียจคร้าน ไม่ยอมทำให้สิ่งนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว จนในที่สุดการงานต่างก็สะสมพอกพูนขึ้นจนยากที่จะสะสางให้เสร็จได้โดยง่าย

ฟาดเคราะห์

หมายถึงทำพิธีปัดสิ่งชั่วร้ายให้ไปจากตัว, สละสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เคราะห์สูญหายไป; ตัดใจยอมเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้วเป็นการทำให้หมดเคราะห์ ในความเช่น นึกว่าฟาดเคราะห์

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

หมายถึงการศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า มีความรู้มิได้หนักบ่าหนักแรงอะไร ความรู้ที่เวลานี้เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ วันหน้าอาจเห็นคุณค่าของมันก็ได้

ตีท้ายน้ำ

หมายถึงเข้าทำในตอนหลังหรือในระยะหลัง

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ