สุภาษิตไทย

สํานวนสุภาษิต

ตีงูให้หลังหัก

หมายถึง ทำสิ่งใดแก่ศัตรูไม่เด็ดขาดจริงจัง ย่อมได้รับผลร้ายภายหลัง

พจนานุกรมไทย ตีงูให้หลังหัก หมายถึง:

  1. (สํา) ก. กระทําการสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาดจริงจังย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทําร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย).

 หมายเหตุ

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

 ภาพประกอบ

  • ตีงูให้หลังหัก ความหมายคืออะไร ใช้ยังไง, สํานวนสุภาษิต ตีงูให้หลังหัก หมายถึง ทำสิ่งใดแก่ศัตรูไม่เด็ดขาดจริงจัง ย่อมได้รับผลร้ายภายหลัง

 สํานวนสุภาษิตที่คล้ายกัน

ขว้างงูไม่พ้นคอ จับงูข้างหาง ตบมือข้างเดียวไม่ดัง ตีงูให้กากิน ตีตนก่อนไข้ ตีปลาหน้าไซ ตีวัวกระทบคราด บนข้าวผี ตีข้าวพระ รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี หักด้ามพร้าด้วยเข่า อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่

หาคำศัพท์ไม่เจอ หรือยังไม่เห็นคำที่ต้องการ?

ช่วยแนะนำคำใหม่ให้เราสิ
แจ้งเพิ่มคำ

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ตีงูให้หลังหัก"

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ

 บทความอื่น ๆ จาก "Wordy Guru"