ค้นเจอ 109 รายการ

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

หมายถึงการศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า มีความรู้มิได้หนักบ่าหนักแรงอะไร ความรู้ที่เวลานี้เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ วันหน้าอาจเห็นคุณค่าของมันก็ได้

ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

หมายถึงมีวิชาความรู้มาก แต่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนไม่ได้ หรือเมื่อถึงคราวมีกลับไม่มีปัญญาแก้ไขให้ตัวเองรอดพ้นได้

รู้มากยากนาน

หมายถึงรู้มากเกินไปจนทำให้ยุ่งยากใจ, มักพูดเข้าคู่กับ รู้น้อยพลอยรำคาญ เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ

ตาสีตาสา

หมายถึงคนบ้านนอกไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยทันเล่ห์เหลี่ยมคนในเมือง

สวมเขา

หมายถึงทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้ระแคะระคาย

วัวสันหลังหวะ

หมายถึงคนที่ทำผิดแล้วคอยระแวงกลัวผู้อื่นจะรู้

เปิดหูเปิดตา

หมายถึงให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว)

วัวสันหลังขาด

หมายถึงคนที่ทำผิดแล้วคอยระแวงกลัวผู้อื่นจะรู้

ปากหนัก

หมายถึงไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใคร ๆ, ไม่ใคร่ทักทายใคร, พูดได้ช้า (ใช้กับเด็กที่ถูกสอนให้พูด)

ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง

หมายถึงจะทำอะไรก็ทำอย่างมีสติ รอบคอบ แม้จะช้าไปบ้างก็ได้ผลดี แต่ถ้าทำอย่างรีบร้อน ไม่พินิจพิเคราะห์ให้ดีก่อน อาจผิดพลาดเสียหายได้ง่าย

อายครูไม่รู้วิชา อายภรรยาไม่มีบุตร

หมายถึงอายในสิ่งที่ไม่ควรอาย อันทำให้ไม่เกิดประโยชน์

อายครูไม่รู้วิชา อายภรรยาไม่มีบุตร

หมายถึงอายในสิ่งที่ไม่ควรอาย อันทำให้ไม่เกิดประโยชน์

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ