ค้นเจอ 45 รายการ

ฮ้องเฮ่ง

หมายถึงร้องเสียงดัง อย่างว่า พอเมื่อฟืดฟืดฟ้าระดูด่วนคิมหันต์ มาแล้ว สาผลเนาอยู่นานในท้อง นับวันได้สิบเดือนพอขวบ ฟ้าเฮ่งฮ้องเดือนห้าฮว่านมา (ฮุ่ง).

ไจ

หมายถึงด้ายที่ปั่นเต็มไนแล้วเก็บออกมาเรียกฝ้ายหนึ่งไจ สิบไจเท่ากับหนึ่งปอย. กรอง เกรอะ ต้มปลาร้าแล้วกรองเอาแต่น้ำ เรียก ไจปลาแดก เกรอะปลาแดก เตอะปลาแดก ก็ว่า.

ไขข้อ

หมายถึงน้ำมันที่อยู่ตามข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า สำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมา พับเข้าเหยียดออกได้ตามปกติ ไม่เกิดความขัดข้องเรียก น้ำมันไขข้อ.

กั้งโกบ

หมายถึงลักษณะอาการมือป้อง สายตามอง ยกมือข้างหนึ่งวางไว้เหนือคิ้ว เรียก กั้งโกบ เพื่อตั้งการมองดูข้างล่าง ไม่ให้แสงข้างบนมากระทบ.

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

ไท

หมายถึงพวก หมู่ เหล่า อย่างว่า จงใจหอมไพร่ไททังค้าย (สังข์) ไทไกลนี้เจงเวงน้ำแจ่วข่า บ่ท่อใสติ้งหลิ้งไทใกล้น้ำแจ่วขิง (ภาษิต).

กรภ

หมายถึง1.หลังมือ 2.งวงช้าง 3.ลูกช้าง 4.ลูกอูฐ 5.อูฐทั่วไป 6.ของหอมชนิดหนึ่ง 7.ตะโพก (ส.). 8.ชื่อนักบัตรที่ ๑๓ อีกอย่างหนึ่งเรียก หัสตะ (ป.).

วันโลกาวินาส

หมายถึงวันเสีย วันอาภัพ วันอัปมงคล เรียก วันโลกาวินาส วันโลกาวินาสโบราณให้โฉลกไว้ดังนี้ ทิตย์สี่สัน จันทร์หกฐาน คารสิบสุด พุธสามทัศ พฤหัสแปด ศุกร์เก้า เสาร์หนึ่ง จะทำการอันเป็นมงคลใดๆ ให้เว้นวันโลกาวินาส (ประเพณี).

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

กระจวน

หมายถึงผง, เกสร อย่างว่า นางก็เอากระจวนจันทน์คันธรส บดแหลกยิ่งหนักหนา ไปถวายบูชาพระพุทธเจ้า (เวส) เหมือยเร่งล้นพรมพั้วกาบกระจวน (สังข์). แตก, ไหม้, ละเอียด อย่างว่า ตัดแผ่นพื้นผาล้านมุ่นกระจวน (กา) เวียงใหญ่กว้างไฟไหม้มุ่นกระจวน (กาไก) เห็นมารเหยียดคู้คำโศกถือทวน คึดเมื่อยามเฮียงสมชอบคนิงมโนแค้น คีงแข็งกร้าวตีนมือทำถีบ ผ้าแผ่นปลิ้นกระจวนล้านเลือดนอง (สังข์).

ไหล

หมายถึง1.)ชื่อพืชชนิดหนึ่ง ลำต้นกลมเล็กและยาว เรียก หญ้าไหล ใช้สำหรับทอเสื่อ ทอเสื่อคือต่ำสาด. 2.)เคลื่อนไปอย่างของเหลว เช่น น้ำ เรียก ไหล อย่างว่า เมื่อนั้นกุมภัณฑ์น้าวถนอมนางในอาสน์ คือคู่ไฟพ่างเผิ้งผายใกล้ล่ามไหล แท้แล้ว (สังข์).

ไกล

หมายถึงห่าง, ไม่ใกล้, ยาว อยู่ห่างกันเรียก ไกลกัน อย่างว่า หมากส้มนับมื้อไกลเกลือ หัวเฮือนับมื้อไกลฝั่ง ดอกสะมั่งนับมื้อไกลจากต้น ดมแล้วกลิ่นบ่หอม (กลอน) นับมื้อไกลกันแล้วหัวอินทร์เสด็จจาก หน้าผากไกลกระด้นคราวมื้อกูกบ่เห็น (หน้าผาก).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ