ค้นเจอ 165 รายการ

ยัชโญปวีต

หมายถึง[ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรำ หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.).

ราชองครักษ์

หมายถึง[ราดชะองคะรัก] น. นายทหารชั้นสัญญาบัตรรักษาพระองค์พระมหากษัตริย์เป็นต้น มี ๓ พวก คือ ราชองครักษ์ประจำ ราชองครักษ์เวร ราชองครักษ์พิเศษ.

จันทรภิม

หมายถึง(โบ) น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้องว่า เงินจันทรภิม ในข้อความว่า เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม. (สามดวง).

ขับซอ

หมายถึง(ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).

ทำเนียบนาม

หมายถึงน. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็นทำเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก.

บังคม

หมายถึง(ราชา) ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย, ใช้ว่า ถวายบังคม. (ข.).

อภัยโทษ

หมายถึง[อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.

มหาศาล

หมายถึงน. ผู้ยิ่งใหญ่ในวรรณะนั้น ๆ, ถ้าเป็นพราหมณ์ก็หมายความว่า มีศิษย์มาก, ถ้าเป็นกษัตริย์ก็หมายความว่า มีอำนาจมาก, ถ้าเป็นแพศย์ก็หมายความว่า มีทรัพย์มาก. ว. มีทรัพย์สมบัติมากมาย เช่น เศรษฐีมหาศาล, (ปาก) อย่างยิ่ง, มากมาย, เช่น เขามีที่ดินมหาศาล. (ส.).

รองทรง

หมายถึงน. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทยที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวงฉบับรองทรง.

เรือนยอด

หมายถึงน. อาคารที่มีหลังคาเป็นเครื่องยอดแบบต่าง ๆ เช่น แบบมณฑป แบบยอดปรางค์ แบบยอดปราสาท แบบยอดมงกุฎ แบบยอดเจดีย์ (ใช้แก่อาคารที่ใช้ในกิจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา).

ลาดพระบาท

หมายถึงน. พรมทางสำหรับปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนินของพระมหากษัตริย์และพระราชินี, ในปัจจุบันใช้ปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนินของพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงด้วย.

พระองค์

หมายถึง(ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนามใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ