ค้นเจอ 132 รายการ

อย่าฝากเนื้อไว้กับเสือ

หมายถึงอย่าฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับผู้ที่ชอบสิ่งนั้นเพราะตนจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป

อย่าเอาทองไปลู่กระเบื้อง

หมายถึงคืออย่าลดตัวลงไปสู้กับคนชั่วต่ำ มีแต่เสียศักดิ์ศรี เพราะไม่คู่ควรกัน

เสียกำแล้วซ้ำกอบ

หมายถึงเสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก

เสียกำซ้ำกอบ

หมายถึงเสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก

เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม

หมายถึงประพฤติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เมื่อไปอยู่ในพวกเขาแล้ว ก็ต้องประพฤติคล้อยตามเขา

อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ

หมายถึงพิมเสนเป็นของมีค่างมากกว่าเกลือ คืออย่าลดตัวลงไปสู้กับคนชั่วต่ำ มีแต่เสียศักดิ์ศรี เพราะไม่คู่ควรกัน

เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย

หมายถึงเวลาจะต้องเสียงเพียงเล็กน้อย ไม่อยากจะเสีย แต่พอถึงคราวต้องเสียมาก ๆ รับควักเงินให้ทันที อย่างข้าวของที่ชำรุดไปเล็กน้อย แทนที่จะรีบซ่อมแซมเสีย กลับปล่อยให้เสียมาก แล้วจึงซ่อมแซม ซึ่งต้องหมดเงินมากกว่าหลายเท่า

เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย

หมายถึงเสียประโยชน์เพียงเล็กน้อยแต่ไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องมาเสียมากในที่สุด

อย่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

หมายถึงอย่าทำอะไรที่ต้องเสียทรัพย์โดยไม่ได้ประโยชน์คุ้มกับเงินทองที่ต้องเสียไป เหมือนตำน้ำพริกเพียงครกหนึ่งแล้วเอาไปละลายในแม่น้ำ ซึ่งมีน้ำมาก จะทำให้น้ำในแม่น้ำกลายเป็นน้ำพริกอย่างในหม้อแกงไม่ได้

อย่าคบคนจร นอนหมอนหมิ่น

หมายถึงอย่าคบคนจร ที่เราไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้าหรือไม่รู้จักประวัติเสียก่อน

อย่าชิงสุกก่อนห่าม

หมายถึงตามปรกติผลไม้ เช่นมะม่วงก่อนจะสุก จะต้องห่ามเสียก่อน การกระทำอะไรต้องให้เป็นไปตามจังหวะขั้นตอนของมัน ถ้าทำผิดลำดับอาจเสียหาย เหมือนผลไม้ที่ยังไม่แก่ เอามาบ่มแม้จะสุก แต่ก็จะเข้าทำนองหัวหวานก้นเปรี้ยว หรือยังเรียนหนังสือไม่จบ ยังหาเงินไม่ได้ ริมีลูกมีเมียเสียก่อน ตัวเองก็จะเดือดร้อนลูกเมียก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วย

เข้าเลือดเข้าเนื้อ

หมายถึงเสียผลประโยชน์แล้วยังต้องเสียเงินอีกด้วย

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ