ค้นเจอ 11 รายการ

กงราช

หมายถึงเขตเมืองหลวง เรียก กงราช อย่างว่า ฟังยินซว่าซว่าก้องกงราชเป็งจาน (สังข์)

กงคำ

หมายถึงราชรถเรียก

กงราชมณเฑียร

หมายถึงเขตเรือนหลวงเรียก กงราชมณเฑียร อย่างว่า คื่นคื่นก้องกงราชมณเฑียร (สังข์).

กรรมฐาน

หมายถึงที่ตั้งแห่งการงาน มี ๒ คือ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานได้แก่อุบายสงบใจ วิปัสสนากรรมฐานอุบายเรื่องปัญญา.

ฝาเฮือน

หมายถึงฝาสำหรับกั้นเรือน เรียก ฝาเฮือน อย่างว่า ราชควงตั้งเวสณฑ์ผาสาท ฝาก่อแก้วเฮืองเข้มควี่วรรณ (สังข์).

กงเมือง

หมายถึงเขตเมือง เรียก กงเมือง อย่างว่า มีในเขตขงกงเมืองสิวิราช (เวส) ท้าวก็คอยเห็นกงเมืองชั้นผีหลวงฮ้อยย่าน (สังข์) ข่อยเห็นกงเมืองชั้นจำปายาวย่าน (กา) ฟังยินซว่าซว่า ฮ้องกงราชเป็นจาน (สังข์) คอยเห็นกงเมืองก็พระยาขอมพอผอมผ่อ (ผาแดง)

สมถกรรมฐาน

หมายถึงอุบายสงบใจ ใจที่มีราคะความกำหนัด โทสะความประทุษร้ายและโมหะความลุ่มหลง กิเลสสามตัวนี้ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่สงบ ถ้าอยากให้สงบต้องเอาสมถกรรมฐานมาข่มไว้ การเจริญธรรมอย่างนี้เรียก เจริญสมถกรรมฐาน.

กนิษฐภคินี

หมายถึงน้อง (ป.ส.) อย่างว่า บ่ได้สุขอยู่สร้างเสวยราชเป็นพระยา คนิงแพงศรีชู่วันมีเอื้อน กำสุดโอ้กนิษฐาเจ้าพี่กูเอย ปานนี้ยักษ์ฆ่าเจ้ากินแล้วฮู้ว่ายัง นั้นเด(สังข์).

เทิง

หมายถึงบน เหนือ สูง บนเรือนเรียก เทิงเฮือน อย่างว่า ขุนอยู่ล้อมหลายชั้นลุ่มเทิง (สังข์) ภูธรขึ้นเมือเทิงโรงราช (ฮุ่ง) พระบาทชี้เชิญราชเมือเทิง (กา) ยนยนย้ายชามลายเลียนสาด เหลือแต่ห้องโฮงฮ้านลุ่มเทิง (ฮุ่ง). ทั้ง ทั่ว ทั้งบุญทั้งบาปเรียก เทิงบุญเทิงบาป อย่างว่า เทิงหลายเพิ่นแพงชิ้นปูปลายามอึดอยาก อันความปากความเว้าบ่ได้ซื้อแพงไว้เฮ็ดอิหยัง (ภาษิต) คำว่า เทิง กับ ทัง มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้.

เกย

หมายถึงที่สำหรับขึ้นลงราชยานของเจ้านายเรียก เกย อย่างว่า สะพ่มพร้อมอามาตย์ประดับดี ปูราชสิงหาส์นลวาดเพียงพรมล้วนยนยนช้างเชียงทองคับคั่งม้ามากเท้าเกยกว้างจอดจน (สังข์) ยั่งยั่งเที้ยนขุนนายเนืองแห่ ควาญเกี่ยวช้างเฮียงฮ้านแทบเกย (ฮุ่ง).

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ