ค้นเจอ 11 รายการ

อุปสมบทกรรม

หมายถึงการบวชเป็นภิกษุ.

ชื่นชม

หมายถึงยินดีด้วย

ชมชื่น

หมายถึงพลอยยินดีด้วย

ปัพพาชนียกรรม

หมายถึงกิจของสงฆ์ทำในการขับไล่ภิกษุ การขับไล่ภิกษุ การขับไล่ออกจากหมู่ (ป.).

กฎี

หมายถึงเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร เรียก กฎี กุฏี กะฏีก็ว่า (ป.กุฏิ).

ธุดงค์

หมายถึงข้อวัตรที่ภิกษุพึงปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลศ มีโลภ โกรธ หลง ให้ลดน้อยถอยลง

บัพพาชนียกรรม

หมายถึงกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่ (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

ไตรจีวร

หมายถึงผ้า 3 ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (ผ้าสบง) อุตราสงค์ (ผ้าจีวร) สังฆาฏิ (ผ้าทาบ).

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

ขีน

หมายถึงไม่ชอบหน้า, ไม่พอใจ, ไม่ชอบ ขืน, ฝืน อย่างว่า ว่าเล่าทำเปืองปุ้นสมคามคลาที่ ดั่งนั้น ลุลาภพร้อมใจป้าห่อนขีนเมื่อใด (ฮุ่ง). ขัด อย่างว่า เมื่อนั้นสองแม่ป้าโลมลูกเอาใจ ก็บ่ขีนกุมารมอบศรศิลป์แก้ว บาก็ยินดีแท้ธรงศรขัดดาบ สองแม่ป้าเฮียงข้างลูบเลิง (สังข์). ขัดขืน อย่างว่า นางก็โจมแจ่มเจ้าองค์อ่อนยอมใจ ก่อนเถิ้น อาบ่มีขีนขืฃัดซิค่อยเติมตามน้อย (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ