ค้นเจอ 12 รายการ

กฎ

หมายถึงปรากฏ, สังกฏ อย่างว่า สังกฏว่ามันมา แต่บ่เห็นมา จักมันไปใส (บ.) ผากฏ ก็ว่า อย่างว่า ผากฏแก้วสุมุณฑาทรงฮูปโฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).

กฎวัด

หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง

กฎศีล

หมายถึงศีลคือข้อห้าม ศีลของศาสดาแต่ละศาสนาบัญญัติไว้ไม่เหมือนกัน สำหรับพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดา ได้บัญญัติศีลแด่พุทธบริษัทไม่เคร่ง ไม่หย่อน พอเหมาะพอดี ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้ก็มีความร่มเย็นเป็นสุขไม่มีภัย ไม่มีเวร ประสบแต่ความสุขความเจริญ

กฎ (จด)

หมายถึงจด บันทึก การจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเรียก กฎ อย่างว่า ก็จิ่งลงลายแต้มกฎเอาคำปาก (ฮุ่ง).

กฎ (ระเบียบ)

หมายถึงประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ ระเบียบที่คนหมู่หนึ่งคณะหนึ่งวางไว้ เพื่อให้คนหมู่หนึ่งในคณะทำเสมอกัน.

กฎกรรม

หมายถึงกรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.

กฎธรรม

หมายถึงธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต

กฎบ้าน

หมายถึงระเบียบที่ชาวบ้านร่วมกันบ้านร่วมกันตั้งขึ้น เรียก กฎบ้าน เช่นการปลูกเรือน ใครจะปลูกเรือนจะต้องไปช่วยเหลือกันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้หญิงไปหาอาหารมาเลี้ยง ผู้ชายไปจัดการปลูกทำให้เสร็จในวันเดียว การดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว ถ้ามีความจำเป็นก็ขอแรงญาติให้ไปช่วย

กฎกรม

หมายถึงกรมหรือหน่วยงานย่อยที่แยกออกจากหน่วยงานใหญ่ แต่ละกรมมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้า ข้อบัญญัติที่เจ้ากรมออกไว้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรียก กฎกรม ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวง เจ้าทบวง เจ้ากรมบัญญัติจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ถ้าขัดกับกฎหมาย ข้อบัญญัติก็เป็น โมฆะหรือ โมฆียะ.

กฎแกวด

หมายถึงนับจำนวน, กำหนดจำนวน การกำหนดนับจำนวนเรียก กฎแกวด อย่างว่า กฎแกวดเผี้ยนตายเมี้ยนมากหลาย(กา).

กฎธรรมดา

หมายถึงธรรมดาคืออาการหรือความเป็นไปของคนและสัตว์ เมื่อคนและสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของโลก ธรรมดาของโลกนั้นจะต้องกิน จะต้องนอน จะต้องป้องกันภัยอันตราย จะต้องสืบพันธุ์คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะเป็นอย่างนี้ นี่คือกฎของธรรมดา.

กฎอัยการศึก

หมายถึงกฎหมายที่ตราขึ้นใช้ในเวลาที่จำเป็น เช่นเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกสงครามหรือความไม่สงบจะต้องตรากฎหมายขึ้นใช้ในภาวะเช่นนี้ กฎหมายนี้เรียก กฎอัยการศึก อำนาจบริหารบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจทหาร ทหารจะใช้กฎนี้ไปจนกว่าบ้านเมืองจะสงบสุข.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ