ค้นเจอ 68 รายการ

แข่งแดด,แข่งฝน

หมายถึงฝ่าแดด ,ฝ่าฝน

ไง่ (ฝุ่น)

หมายถึงฝุน, ผง, ละออง ฝุนผงหรือละอองเรียก ไง่ ขี้ฝุน ขี้ผง ขี้ละออง ก็ว่า.

ฝาเฮือน

หมายถึงฝาสำหรับกั้นเรือน เรียก ฝาเฮือน อย่างว่า ราชควงตั้งเวสณฑ์ผาสาท ฝาก่อแก้วเฮืองเข้มควี่วรรณ (สังข์).

ของต้อน

หมายถึงของฝาก

กระจาย

หมายถึงกำจาย ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งใบและดอกคล้ายต้นฝาง ฝักคล้ายฝักส้มป่อย เมล็ดใหญ่ ใช้เมล็ดแช่น้ำสีดำใช้ย้อมผ้าได้ เรียก หมากกระจาย อย่างว่า โอนอหีเอย คันชิเมือนำอ้ายหีบ่แดงให้ย้อมครั่ง คันแม่นย้อมครั่งแล้ว ให้ลงแหล้หมากกระจาย (อ่านเจือง). ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านกระจาย ใช้เป็นว่านคงยิงไม่ออกแทงไม่เข้าผู้มีว่านกระจายต้องเลี้ยงว่านปีละครั้ง ใช้เขียดหรือกบดิบเลี้ยง โยนกบหรือเขียดดินเข้าไปว่านจะดูดกินเลือดกบหรือเขียดทันทีถ้าไม่เลี้ยงว่านจะไม่ศักดิ์สิทธิ์และเจ้าของว่านจะเป็นปอบ

ไกล

หมายถึงห่าง, ไม่ใกล้, ยาว อยู่ห่างกันเรียก ไกลกัน อย่างว่า หมากส้มนับมื้อไกลเกลือ หัวเฮือนับมื้อไกลฝั่ง ดอกสะมั่งนับมื้อไกลจากต้น ดมแล้วกลิ่นบ่หอม (กลอน) นับมื้อไกลกันแล้วหัวอินทร์เสด็จจาก หน้าผากไกลกระด้นคราวมื้อกูกบ่เห็น (หน้าผาก).

ขี้กะเพย

หมายถึงเส้นไหมที่สาวจากฝักหลอกหลีบ ฝักหลอกกลีบ ก็ว่า เส้นไหมชนิดนี้ไม่เรียบร้อย เรียก ไหมขี้กะเพย.

ขี้สีก

หมายถึงน้ำครำ แอ่งน้ำใต้ถุนเรือนตรงที่ตั้งโอ่งน้ำกินน้ำใช้ แอ่งน้ำนี้แหละเรียก น้ำขี้สีก น้ำขี้สีกนี้หมอยาโบราณถือว่าเป็นน้ำยาศักดิ์สิทธิ์ ถ้าคนป่วยเป็นไข้ออกหมึก ออกซาง ไข้หมากไม้ใหญ่ หมอจะไปเอาน้ำนี้มาฝนใส่ยา แก้ไข้ดีนักแล.

จ้อย

หมายถึงมาตราชั่งน้ำหนักของฝิ่น จ้อยหนึ่ง น้ำหนักเท่ากับสองกิโลกรัม.

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

เถียง

หมายถึงโรงเรือนที่ปลูกไว้เพื่อเฝ้าพืชผลเรียก เถียง ปลูกไว้ที่นาเรียก เถียงนา ปลูกไว้ป่าเรียก เถียงไฮ่.

ฮ้อง

หมายถึงร้อง เปล่งเสียงดัง เรียก ฮ้อง อย่างว่า ฟังยินโกนโดกฮ้องฮิ่มไฮ่กินไฮ พุ้นเยอ บาศรีเสด็จออกโฮงคนเฝ้า เจืองก็จงใจแก้วโฉมงามง้อมม่วน ผู้ที่เหง้ากระหายฮ้อนคู่ไฟ (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ