ค้นเจอ 35 รายการ

กฎธรรม

หมายถึงธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต

ขะลำ,คะลำ

หมายถึงผิดประเพณี,ผิดครรลองคลองธรรม

ไตรรัตน์

หมายถึงแก้ว 3 ประการคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.

ขี้อ่ง

หมายถึงหยิ่ง,คนถือตัว,มาดเยอะ,หยิ่งทะนงตน

ไตรสรณคมณ์

หมายถึงการถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

ทรง

หมายถึงมีครรภ์เรียก ทรงคัพ อย่างว่า นางก็ทรงคัพได้หลายเดือนจวนประสูติ ก็บ่มีเหตุฮ้อนการฮ้ายเหยื่องใด (กลอน) มีธรรม เรียก ทรงธรรม อย่างว่า เมื่อนั้นปรางคำคลุ้มทรงธรรมคนิงมาก เห็นฮุ่งยามยอดแก้วเทียวใช้ชาติพระองค์ (สังข์).

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

ไตรลักษณ์

หมายถึงลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป 3 ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน.

ปฐมกรรม

หมายถึงชื่อพิธีกรรมแบบหนึ่งซึ่งกษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์ของตน.

วิศวกรรม

หมายถึงชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชำนาญในการช่างทั้งปวง วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม เพชฉลูกรรม ก็ว่า.

กรรมสิทธิ์

หมายถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์, ความมีอำนาจในสิ่งของที่ตนมี เช่นกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรรมสิทธิ์ในข้าวของเงินทอง เป็นต้น.

กฎหมาย

หมายถึงบทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ