ค้นเจอ 142 รายการ

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

ให้เลี้ยง

หมายถึงการอุปถัมภ์บำรุงโดยไม่ปล่อยปละละทิ้ง เรียกว่า ให้เลี้ยง อย่างว่า ให้น้องเลี้ยงพี่ไว้ตางหมาหอนเห่า บาดชู้เก่ามาฮอดแล้วไลถิ้มบ่ว่าสัง (ผญา).

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

เกือ

หมายถึงการให้อาหารสัตว์

ขอด

หมายถึงมัดให้เป็นปม

คอบ

หมายถึงบอกกล่าว,แจ้งให้รู้,บนบอก

ก่น

หมายถึงเจาะ, ขุด ใช้เสียมขุดดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อ เรียก ก่น เช่น ก่นสร้าง ก่นมัน เสาะหา, แสวงหา, ดั้นด้นตามหา

กลอย

หมายถึงชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งจำพวกมัน มีหัวกินได้ หัวดิบมีพิษ คัน ต้องแช่น้ำให้จืดแล้วนึ่งให้สุก กินแทนข้าวได้

แมงอีนูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงจินูน ก็เรียก

เสี่ยว

หมายถึงเพื่อนรักเพื่อนแท้ที่เป็นเพื่อนกันโดยพิธีผูกเสี่ยว สหาย มิตร เพื่อน เกลอ คนที่มีรูปร่างหรือนิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียก เสี่ยว อย่างว่า โขโนเจ้าพรานสวงสองเสี่ยว (กาไก).

หม่าข้าว

หมายถึงแช่ข้าวสาร (ข้าวเหนียว) ให้น้ำให้ข้าวอ่อนก่อนนำไปนึ่ง

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ