ค้นเจอ 12 รายการ

เขือนเมือง

หมายถึงกำแพงเมือง

น้องงัว

หมายถึงส่วนที่เป็นรกของวัว เวลาที่วัวตกลูกหรือคลอดลูก คนอีสานนำมาทำอาหารเมนูหลายหลาย เช่น อ่อม ต้ม ย่าง ลวกจิ้ม ต้มเปื่อย เป็นต้น ถือว่าเป็นเมนูที่หากินได้ยากและมีราคาแพง

น้องวัว

หมายถึงส่วนที่เป็นรกของวัว เวลาที่วัวตกลูกหรือคลอดลูก คนอีสานนำมาทำอาหารเมนูหลายหลาย เช่น อ่อม ต้ม ย่าง ลวกจิ้ม ต้มเปื่อย เป็นต้น ถือว่าเป็นเมนูที่หากินได้ยากและมีราคาแพง

เทิง

หมายถึงบน เหนือ สูง บนเรือนเรียก เทิงเฮือน อย่างว่า ขุนอยู่ล้อมหลายชั้นลุ่มเทิง (สังข์) ภูธรขึ้นเมือเทิงโรงราช (ฮุ่ง) พระบาทชี้เชิญราชเมือเทิง (กา) ยนยนย้ายชามลายเลียนสาด เหลือแต่ห้องโฮงฮ้านลุ่มเทิง (ฮุ่ง). ทั้ง ทั่ว ทั้งบุญทั้งบาปเรียก เทิงบุญเทิงบาป อย่างว่า เทิงหลายเพิ่นแพงชิ้นปูปลายามอึดอยาก อันความปากความเว้าบ่ได้ซื้อแพงไว้เฮ็ดอิหยัง (ภาษิต) คำว่า เทิง กับ ทัง มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้.

คำแพง

หมายถึงผู้ซึ่งเป็นที่รัก หรือ แก้วตาดวงใจของพ่อแม่

ก่ง

หมายถึงทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).

ใจเมือง

หมายถึงนางกษัตริย์ เรียก ใจเมือง อย่างว่า มีท่อเยาวยอดแก้วเป็นมิ่งใจเมือง นางลุนมีแม่เดียวเทียมท้าว ปรากฏแก้วสุมุณฑาธรงฮูป โฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

ตาฮัก ตาแพง

หมายถึงน่ารัก น่าเอ็นดู

กฎ

หมายถึงปรากฏ, สังกฏ อย่างว่า สังกฏว่ามันมา แต่บ่เห็นมา จักมันไปใส (บ.) ผากฏ ก็ว่า อย่างว่า ผากฏแก้วสุมุณฑาทรงฮูปโฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).

ถืก

หมายถึงถูกต้อง, ถูก, โดน, แตะต้อง สัมผัส อย่างว่า ผิดถืกแท้คลองเถ้าดั่งรือ นั้นจา (สังข์) ของไม่แพง เรียก ของถืก อย่างว่า ตาชิบอดมันแดง ของชิแพงมันถืก (ภาษิต).

กนิษฐภคินี

หมายถึงน้อง (ป.ส.) อย่างว่า บ่ได้สุขอยู่สร้างเสวยราชเป็นพระยา คนิงแพงศรีชู่วันมีเอื้อน กำสุดโอ้กนิษฐาเจ้าพี่กูเอย ปานนี้ยักษ์ฆ่าเจ้ากินแล้วฮู้ว่ายัง นั้นเด(สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ