ค้นเจอ 13 รายการ

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] ว. เท่ากัน, พอ ๆ กัน, เหมือนกัน, เช่น กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ; เพียง, แค่, เช่น ราคาของ ๔๐,๐๐๐ บาท เห็นจะซื้อไม่ไหว เสมอสัก ๓๐,๐๐๐ บาท ก็พอจะสู้ได้.

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย เรียกว่า เพลงเสมอ เช่น เสมอบาทสกุณี (เสมอตีนนก) เสมอนาง เสมอมาร.

เสมอหน้า

หมายถึงว. ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน, ทัดเทียม, ไม่โอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, เช่น รักลูกเสมอหน้ากัน.

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] ก. เข้าข้าง, คาดว่าจะชนะ, เช่น มวยคู่นี้คุณจะเสมอฝ่ายไหน.

เสมอนอก

หมายถึงว. เข้าข้างอยู่ภายนอก เช่น ในการแข่งขันชกมวย ผู้ดูเป็นฝ่ายเสมอนอก.

เสมอเหมือน

หมายถึงว. เทียบเท่า, เทียบเหมือน, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ผู้หญิงคนนี้งามไม่มีใครเสมอเหมือน เด็กคนนั้นซนไม่มีใครเสมอเหมือน.

เสมอ ๆ

หมายถึง[สะเหฺมอสะเหฺมอ] ว. เรียบราบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, เช่น ปรับพื้นให้เสมอ ๆ กัน; ตลอดไป, บ่อยและเป็นประจำ, เช่น เขามาหาเสมอ ๆ.

เสมอภาค

หมายถึงว. มีส่วนเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น ในปัจจุบันบุรุษและสตรีมีสิทธิเสมอภาคกัน.

เสมอใจ

หมายถึงว. เหมือนใจ, ได้ดังใจ.

เสมอบ่าเสมอไหล่

หมายถึงว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเสมอบ่าเสมอไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เทียมหน้าเทียมตา ก็ว่า.

เสมอสอง

หมายถึง(วรรณ) ว. เทียบเท่า, เทียบคู่, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พระสังข์ครั้งนี้จะถอดเงาะ งามเหมาะไม่มีเสมอสอง. (สังข์ทอง).

เสมอต้นเสมอปลาย

หมายถึงว. สมํ่าเสมอ, คงเส้นคงวา, ไม่เปลี่ยนแปลง, มักใช้ในทางดี เช่น แม้เขาจะมีอำนาจวาสนา เขาก็ยังไปเยี่ยมเยียนครูบาอาจารย์เสมอต้นเสมอปลาย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ