ค้นเจอ 22 รายการ

เถร,เถร-,เถระ

หมายถึง[เถน, เถระ-] น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).

เถรตรง

หมายถึง(สำ) ว. ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา.

เถรส่องบาตร

หมายถึง(สำ) น. คนที่ทำอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว.

สถวีระ

หมายถึง[สะถะวีระ] (แบบ) น. พระเถระ; ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท เรียกว่า นิกายสถวีระ หรือ สถีรวาท. (ส. สฺถวิร ว่า ผู้ใหญ่, ผู้สูงอายุ; ป. เถร).

ตำแย

หมายถึงว. เรียกหญิงผู้ทำคลอดตามแผนโบราณว่า หมอตำแย. (มาจาก มหาเถรตำแย ผู้ทำตำราว่าด้วยวิชานี้).

เถรี

หมายถึงน. พระเถระผู้หญิง. (ป.).

อนุเถระ

หมายถึงน. พระเถระชั้นผู้น้อย. (ป.).

เถรานุเถระ

หมายถึงน. พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย. (ป.).

เถรวาท

หมายถึง[เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทำสังคายนาไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).

เถรภูมิ

หมายถึง[เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.

สังฆราช

หมายถึง[-ราด] น. ตำแหน่งพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล. (ป.).

แม่กองบาลีสนามหลวง

หมายถึงน. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่พระปริยัติธรรม แผนกบาลีของคณะสงฆ์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ