ค้นเจอ 15 รายการ

เฆี่ยน

หมายถึงก. ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ; (ปาก) เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขันอย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด.

ลง

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.

ที

หมายถึงน. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอกจำนวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคำไทยมีบ้างเล็กน้อย คือ ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่.

โบย

หมายถึงก. เฆี่ยนด้วยหวายเป็นต้นเป็นการลงโทษ.

ระสะเก็ด

หมายถึงว. เรียกอาการลงโทษเฆี่ยนหลังซํ้าแผลเก่าที่ตกสะเก็ดแล้วว่า เฆี่ยนระสะเก็ด, โดยปริยายหมายความว่า พูดตำหนิซํ้าแล้วซํ้าอีก.

เบาไม้

หมายถึงว. ว่านอนสอนง่าย ไม่ค่อยถูกเฆี่ยนถูกตีนัก (ใช้แก่เด็ก).

เราะสะเก็ด

หมายถึงก. เฆี่ยนซ้ำที่เดิม เช่น ถ้าทำผิดอีก จะถูกเราะสะเก็ด.

ลงไม้

หมายถึงก. เฆี่ยนด้วยไม้; เอาไปใส่คาหรือใส่ขื่อไว้.

ลงโทษ

หมายถึงก. ทำโทษเช่นเฆี่ยน จำขัง ปรับเอาเงิน เป็นต้น.

แนว

หมายถึงน. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทางยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.

ถูก

หมายถึงก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วยแสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทำ (มักใช้ในข้อความที่ทำให้ผู้ถูกทำเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ