ค้นเจอ 13 รายการ

ตรอก

หมายถึง[ตฺรอก] น. ทางที่แยกจากถนนใหญ่และมีขนาดเล็กกว่าถนน.

เข้าตามตรอกออกตามประตู

หมายถึง(สำ) ก. ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ.

หมาจนตรอก

หมายถึง(สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ในสำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.

สู้เหมือนหมาจนตรอก

หมายถึง(สำ) ก. ฮึดสู้เพราะไม่มีทางหนี เช่น พอจนมุมเข้า เขาก็สู้เหมือนหมาจนตรอก.

เสือสิ้นตวัก

หมายถึง(สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างไม่คิดชีวิต, มักพูดเข้าคู่กับ สุนัขจนตรอก ว่า เสือสิ้นตวัก สุนัขจนตรอก.

ตัน

หมายถึงว. ไม่กลวง, ไม่ทะลุตลอด, เช่น คลองตัน ตรอกตัน ท่อตัน; โดยปริยายหมายความว่า ติดขัด, ไม่มีทางออก, เช่น ตำแหน่งตัน, ไม่ปลอดโปร่ง เช่น สมองตัน.

จน

หมายถึงว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทำได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.

ตื้น

หมายถึงว. ตํ่าลงไปจากขอบน้อยกว่าปรกติ เช่น ชามก้นตื้น, หยั่งลงไปได้ไม่ไกลจากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น นํ้าตื้น คลองตื้น, เข้าไปไม่ไกลจากขอบเป็นต้น เช่น ตรอกตื้น; ผิวเผิน, ไม่ลึกซึ้ง, เช่น ความคิดตื้น, ตรงข้ามกับ ลึก.

จรอก

หมายถึง[จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).

จุกช่องล้อมวง

หมายถึง(โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาสหรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือ จัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).

ซอกแซก

หมายถึงก. ดั้นด้นไปทุกซอกทุกมุมทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะไป เช่น ซอกแซกไป, เสาะค้นขึ้นมาถามแม้ในเรื่องที่ไม่น่าถาม เช่น ซอกแซกถาม. ว. ทุกแง่ทุกมุม เช่น ถามซอกแซก, เสาะหาสรรหามากิน เช่น กินซอกแซก, เป็นซอกเป็นตรอกมาก เช่น ทางซอกแซก.

ถนน

หมายถึง[ถะหฺนน] น. หนทางที่ทำขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ