ค้นเจอ 827 รายการ

สาก

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตำอย่างหนึ่ง, คู่กับ ครก.

สาก

หมายถึงดู นํ้าดอกไม้ ๓.

เล่นกับหมา หมาเลียปาก

หมายถึง(สำ) ก. ลดตัวลงไปหรือวางตัวไม่เหมาะสมจึงถูกลามปาม, มักใช้เข้าคู่กับ เล่นกับสาก สากต่อยหัว.

สาก

หมายถึงว. อาการที่ระคายเพราะมีลักษณะไม่ละเอียดอ่อนหรือไม่นุ่มนวล เช่น ใบข่อยจับแล้วสากมือ ผู้หญิงคนนี้มือสากเพราะทำงานหนักตั้งแต่เด็ก, ขรุขระเพราะมีพื้นไม่ราบเรียบ เช่น กระดานแผ่นนี้ผิวสากเพราะยังไม่ได้ไสกบ.

ต่อย

หมายถึงก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.

ตักน้ำรดหัวสาก

หมายถึง(สำ) ก. แนะนำพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็กปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า.

เงียบเป็นเป่าสาก

หมายถึง(สำ) ว. ลักษณะที่เงียบสนิท.

หัว

หมายถึงน. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่างตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของบางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่า หัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่นออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.

ลงหัว

หมายถึงก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ยอมลงหัวให้ใคร.

เปิดหัว

หมายถึงก. เปิดสมอง.

หัว

หมายถึงน. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทางดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.

แต่หัววัน

หมายถึงว. ก่อนเวลากำหนด, ก่อนเวลาสมควร, เช่น งานเริ่มทุ่มหนึ่ง มาแต่วันเชียว, ก่อนเวลาที่ควรเป็น (มักใช้เฉพาะเวลาช่วงบ่ายค่อนไปทางเย็น) เช่น วันนี้กลับบ้านแต่วัน กินข้าวแต่วัน กินเหล้าแต่หัววัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ