ค้นเจอ 4 รายการ

สันธาน

หมายถึงน. การเกี่ยวข้อง, การเป็นเพื่อน; เครื่องพัวพัน; (ไว) คำพวกที่เชื่อมประโยคให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เขาชอบสีเหลือง แต่ฉันชอบสีแดง น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก. (ป., ส.).

อเนกรรถประโยค

หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.

ว่า

หมายถึงก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยงไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธานเชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.

ต่อ

หมายถึงก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาวออกไป เช่น ต่อเชือก; ทำให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทำให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนันโดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นำสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่า ในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ, เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา. (สังข์ทอง); ถัดไป, สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นำไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน เช่น คำต่อ (คือ คำบุรพบทและคำสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออำเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้นักเรียน ครูเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ