ค้นเจอ 703 รายการ

สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว.

ว่ายน้ำหาจระเข้

หมายถึง(สำ) ก. เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.

จระเข้

หมายถึง[จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.

ตกน้ำไม่ว่าย

หมายถึง(สำ) ก. ไม่ช่วยตัวเอง.

ว่าย

หมายถึงก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขา ครีบ หรือ หาง แหวกไปในนํ้าหรือในอากาศ.

แหวกว่าย

หมายถึงก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขาหรือครีบ หาง แหวกไปในน้ำหรือในอากาศ, โดยปริยายหมายถึงเวียนว่ายตายเกิด ในความว่า แหวกว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร.

แข้

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. จระเข้ (ดู จระเข้).

สอน

หมายถึงก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจำ; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.

ว่ายฟ้า

หมายถึง(วรรณ) ก. เคลื่อนไปในอากาศ เช่น ไก่ฟ้าวานว่ายฟ้า หาวหน หาสมรมายล เถื่อนท้องฯ. (ตะเลงพ่าย).

ว่ายหล้า

หมายถึง(วรรณ) ก. ท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน, เขียนเป็น หว้ายหล้า ก็มี เช่น เปนขุนยศยิ่งฟ้า ฤๅบาปจำหว้ายหล้า หล่มล้มตนเดียวฯ. (ลอ).

ตะเข้

หมายถึง(ปาก) น. จระเข้.

เข้

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. จระเข้. (ดู จระเข้).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ