ค้นเจอ 8 รายการ

สนทนา

หมายถึง[สนทะ-] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).

ธรรมสากัจฉา

หมายถึงน. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา).

ชักใบให้เรือเสีย

หมายถึง(สำ) ก. พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.

คุย

หมายถึงก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อนที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.

สัมภาษณ์

หมายถึงก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คำพูดให้ตรงกัน).

จิตบำบัด

หมายถึง[จิดตะ-, จิด-] น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจด้วยวิธีที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข. (อ. psychotherapy).

เสวนะ,เสวนา

หมายถึง[เสวะ-] ก. คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. น. การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).

อาลปน์,อาลปนะ

หมายถึง[อาลบ, อาละปะนะ] น. การพูด, การสนทนา, การเรียก, การทักทาย; ในไวยากรณ์ หมายถึง คำที่ใช้เรียกหรือทักทายผู้ที่ตนจะพูดด้วย เช่น “นายแดง แกจะไปไหน” คำ “นายแดง” เป็นอาลปนะ. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ