ค้นเจอ 1,159 รายการ

ภาษาถิ่น

หมายถึงน. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น.

ชวน,ชวน-,ชวน-

หมายถึง[ชะวะนะ-] (แบบ) น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็วของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).

ชวน

หมายถึงก. จูงใจ, โน้มนำ, เช่น ชวนกิน; ชักนำ, ขอให้ทำตาม, เช่น ชวนไปเที่ยว.

คำเมือง

หมายถึงน. ภาษาถิ่นของคนในถิ่นพายัพของประเทศไทย.

รับฟัง

หมายถึงก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา.

ฟัง

หมายถึงก. ตั้งใจสดับ, คอยรับเสียงด้วยหู, ได้ยิน; เชื่อ, ทำตามถ้อยคำ เช่น ให้ฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา.

ขื่น

หมายถึงว. รสฝาดเฝื่อนชวนให้คลื่นไส้ ไม่ชวนกิน; (ถิ่น-พายัพ) ฉุน.

ส่งภาษา

หมายถึงก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่ง โดยกล่าวคำเป็นภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็นภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขาส่งภาษาถิ่นมาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.

ภาษา

หมายถึงน. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.

ขายหู

หมายถึงก. ฟังแล้วละอาย ไม่อยากฟัง.

จอบ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. แอบ, ลอบ, คอยฟัง; (ถิ่น-พายัพ) ล่อ, เล้าโลม, ชักชวน.

ถิ่น

หมายถึงน. ที่, แดน, ที่อยู่, เช่น ถิ่นเสือ ถิ่นผู้ร้าย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ