ค้นเจอ 4,175 รายการ

ให้หา

หมายถึงก. เรียก, บอกให้ไปหา.

กลับเนื้อกลับตัว

หมายถึง(สำ) ก. เลิกทำความชั่วหันมาทำความดี.

หาตัวจับยาก

หมายถึง(สำ) ว. เก่งมาก, หาคนเทียบเท่าได้ยาก, เช่น เขาเป็นคนเรียนเก่งหาตัวจับยาก เขาเล่นการพนันเก่งหาตัวจับยาก.

หาไม่,หาไม่,หา ไม่,หา...ไม่

หมายถึงว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.

เป็นผู้เป็นคน

หมายถึงว. เป็นคนปรกติ, กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีได้, มักใช้ในทางปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นผู้เป็นคน.

ต่อตัว

หมายถึงก. อาการที่คนหนึ่งขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนกำแพง. น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดงคนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไปยืนเลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น.

ตีกลับ

หมายถึงก. ย้อนกลับคืนผู้ส่ง (ใช้แก่หนังสือหรือจดหมาย) เช่น หนังสือถูกตีกลับ จดหมายถูกตีกลับเพราะหาผู้รับไม่ได้.

บอก

หมายถึงก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.

บอก

หมายถึงน. ปล้องไม้ไผ่มีข้อขังข้างก้นสำหรับใส่นํ้าเป็นต้น, มักใช้ว่า กระบอก.

หา

หมายถึงก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่งทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.

กลับ

หมายถึง[กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทำตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับด่าเอา.

หา

หมายถึงว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ