ค้นเจอ 851 รายการ

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

หมายถึง(สำ) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.

นิ่ง,นิ่ง ๆ

หมายถึงก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.

ตำลึง

หมายถึงน. ชื่อไม้เถาชนิด Coccinia grandis (L.) J. Voigt ในวงศ์ Cucurbitaceae มีมือเกาะ ใช้ใบและยอดเป็นผัก.

ตำลึง

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๔ ตำลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง).

เสียยุบเสียยับ

หมายถึงก. เสียแล้วเสียอีก (มักใช้แก่เงินทอง) เช่น ไปเที่ยวงานคราวนี้เสียยุบเสียยับ.

เสียแต่,เสียที่

หมายถึงสัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตาก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ.

ทอง

หมายถึงน. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคำ; เรียกสิ่งที่ทำด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลืองหรือแดงส้ม.

ทอง

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง เรียกว่า เพลงทอง และมีชนิดย่อยว่า ทองย่อน ทองย้อย.

เป้านิ่ง

หมายถึงน. เป้าที่อยู่กับที่, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยืนเป็นเป้านิ่งให้เขาชกข้างเดียว.

ทอง

หมายถึงน. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิด B. monosperma (Lam.) Kuntze เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน; ชนิด B. superba Roxb. เป็นไม้เถา, ทองเครือ หรือ ตานจอมทอง ก็เรียก.

เสียได้

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความผิดหวังเป็นต้น เช่น ตั้งใจมาหาเพื่อนทั้งที กลับไม่อยู่เสียได้.

ไม่ได้ไม่เสีย

หมายถึงว. เสมอตัว, เท่าทุน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ