ค้นเจอ 1,118 รายการ

ญัตติ

หมายถึงน. คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คำเผดียงสงฆ์ ก็ว่า; ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).

จัตุร,จัตุร-

หมายถึง[จัดตุระ-] ว. สี่. (ส. จตุร; ป. จตุ).

จตุร,จตุร-

หมายถึง[จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).

จตุตถ,จตุตถ-,จตุตถี

หมายถึง[จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.).

จตุ,จตุ-

หมายถึง[จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).

จตุรเวท,จตุรเพท

หมายถึง[จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-).

จตุรถ-

หมายถึง[จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).

ตจ,ตจ-

หมายถึง[ตะจะ-] น. หนัง, เปลือกไม้. (ป.).

จตุรมุข

หมายถึง(กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.

จาตุร,จาตุร-

หมายถึง[จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.

ถก

หมายถึงก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถกเศียร, ถลก ก็ว่า; ทึ้งให้หลุดออก เช่น ถกหญ้า ถกเถาวัลย์; โดยปริยายหมายความว่า ยกเอาขึ้นมาพิจารณากันด้วยเหตุผล เช่น ถกปัญหา.

จดูร,จดูร-

หมายถึง[จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ