ค้นเจอ 1,983 รายการ

คำไวพจน์

หมายถึงดู ไวพจน์

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

ภูเขา

หมายถึงน. พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบ ๆ ตั้งแต่ ๖๐๐ เมตรขึ้นไป.

ดอย

หมายถึงน. ภูเขา.

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

สีทันดร

หมายถึง[-ดอน] น. ชื่อทะเล ๗ แห่ง อยู่ระหว่างภูเขาพระสุเมรุกับภูเขายุคนธร ๑ ระหว่างภูเขายุคนธรกับภูเขาอิสินธร ๑ ระหว่างภูเขาอิสินธรกับภูเขากรวิก ๑ ระหว่างภูเขากรวิกกับภูเขาสุทัสนะ ๑ ระหว่างภูเขาสุทัสนะกับภูเขาเนมินธร ๑ ระหว่างภูเขาเนมินธรกับภูเขาวินตกะ ๑ ระหว่างภูเขาวินตกะกับภูเขาอัสกัณ ๑. (ดู บริภัณฑ์ ๑).

สิขเรศ

หมายถึง(กลอน) น. ภูเขา.

เข็นครกขึ้นภูเขา

หมายถึง(สำ) ก. ทำงานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.

ยกภูเขาออกจากอก

หมายถึง(สำ) ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป.

คันธมาทน์

หมายถึงว. ที่มีกลิ่นหอมทำให้สัตว์มัวเมา. น. ชื่อภูเขา เรียกว่า ภูเขาคันธมาทน์ คือ ภูเขาผาหอม. (ป., ส.).

เบญจคีรีนคร

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของเมืองราชคฤห์ มีภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบ คือ ๑. ภูเขาปัณฑวะ ๒. ภูเขาคิชฌกูฏ ๓. ภูเขาเวภาระ ๔. ภูเขาอิสิคิลิ ๕. ภูเขาเวปุลละ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ