ค้นเจอ 1,969 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สมาส

สมาส

หมายถึง[สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).

อันเต,อันโต

หมายถึงคำใช้เป็นส่วนหน้าสมาส หมายความว่า ภายใน.

จริยา

หมายถึง[จะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น ธรรมจริยา.

ทัต,-ทัต

หมายถึงก. ให้แล้ว, ใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น พรหมทัต เทวทัต. (ป. ทตฺต).

นว,นว- ,นว-

หมายถึง[นะวะ-] ว. ใหม่ (ใช้เป็นคำหน้าสมาส). (ป., ส.).

การ,-การ,-การ

หมายถึงคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

ตรัย

หมายถึง[ไตฺร] ว. สาม, หมวด ๓, ใช้ในคำสมาส เช่น ตรัยตรึงศ์ รัตนตรัย. (ส.).

บิตุ

หมายถึง(แบบ) น. พ่อ, ใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น บิตุฆาต บิตุราช. (ป. ปิตุ).

จริย,จริย-

หมายถึง[จะริยะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. (ป.).

นว,นว- ,นว-

หมายถึง[นะวะ-] ว. เก้า, จำนวน ๙, (ใช้เป็นคำหน้าสมาส). (ป.; ส. นวนฺ).

ขย,ขย-

หมายถึง[ขะยะ-] (แบบ) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. (ป.).

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ