ค้นเจอ 1,916 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ไวพจน์, พ้อง

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

คำพ้องรูป

หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.

พ้อง

หมายถึงว. ต้องกัน, ตรงกัน, ซํ้ากัน, เช่น พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ เห็นพ้องด้วย ชื่อพ้องกัน.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

ลงเนื้อเห็นด้วย

หมายถึงก. เห็นพ้องด้วย.

นั่นซี,นั่นนะซี

หมายถึงคำแสดงการเห็นพ้องด้วย.

เล่นพวกเล่นพ้อง

หมายถึงก. ถือพวกพ้องเป็นใหญ่หรือสำคัญ.

ต้องกัน

หมายถึงว. ตรงกัน, พ้องกัน, ถูกกัน.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

คำ

หมายถึงน. ทองคำ เช่น หอคำ เชียงคำ.

สมานคติ

หมายถึง[สะมานะ-] น. การดำเนินอย่างเดียวกัน, การมีความเห็นพ้องกัน. (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ