ค้นเจอ 1,929 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ทำซ้ำ

ซ้ำ

หมายถึงว. มีหรือทำอย่างเดียวกันอีกครั้งหนึ่งหรือหลาย ๆ ครั้ง เช่น พูดซํ้า ตีซํ้า.

ทำซ้ำ

หมายถึง(กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.

ฉายซ้ำ

หมายถึง(ปาก) ก. กระทำซ้ำ ๆ เช่น เขามักฉายซ้ำเรื่องเก่า ๆ.

เสียกำซ้ำกอบ,เสียกำแล้วซ้ำกอบ

หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

สัมผัสนอก

หมายถึงน. สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคตามข้อบังคับแห่งฉันทลักษณ์ซึ่งเป็นสัมผัสสระและไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกัน

มิหนำซ้ำ

หมายถึงว. เท่านี้ยังไม่เพียงพอ, หนักยิ่งไปกว่านั้นอีก, เช่น ตัดเท้าตัดกรแล้วมิหนำ ซ้ำฆ่าสุริย์วงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์).

งะ

หมายถึง(โบ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง.

ฉะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

จะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.

คะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.

วะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ