ค้นเจอ 19 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ปเวณี, ประเพณี, สุติ, นิติ, นีติ, เนติ

ขนบธรรมเนียม

หมายถึง[ขะหฺนบทำ-] น. แบบอย่างที่นิยมกันมา.

ปเวณี

หมายถึง[ปะ-] น. ขนบธรรมเนียม, แบบแผน; เชื้อสาย, การเป็นสามีภรรยากันตามธรรมเนียม. (ป.; ส. ปฺรเวณิ).

ประเพณี

หมายถึงน. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).

สุติ

หมายถึงน. การได้ยินได้ฟัง; ขนบธรรมเนียม; เสียง. (ป.; ส. ศฺรูติ).

นิติ

หมายถึง[นิ-ติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).

นีติ

หมายถึง(แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส.).

เนติ

หมายถึง[เน-ติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).

สภาจาร

หมายถึงน. ขนบธรรมเนียมขององค์การหรือสถานที่ประชุม. (ส.).

แบบแผน

หมายถึงน. ขนบธรรมเนียมที่กำหนดใช้หรือที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา.

ข้านอกเจ้าบ่าวนอกนาย

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่กระทำหรือประพฤตินอกเหนือคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมา.

ปุโรหิต

หมายถึงน. พราหมณ์ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในทางนิติ คือ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี. (ป., ส.).

แหกคอก

หมายถึงก. ประพฤติตัวผิดเหล่าผิดกอหรือผิดขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติกันมา (มักใช้ในเชิงตำหนิ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ